top of page

ใช้ Reference ยังไงให้เซียนสุด!



ก่อนเราจะไปเริ่มถึงวิธีการ แอดอยากจะขอเสริมให้เกี่ยวกับการเตรียมตัวกันสักนิด


• ปรับระดับเสียงให้เท่ากัน สิ่งที่แนะนำเลยก็คือการจองแทรคแรกสุดใน DAW ให้เป็นของ Reference Track และจำไว้เลยว่าเจ้าตัวแทรคนี้มันถูกมาสเตอร์มาแล้ว ดังนั้นให้ลดระดับเสียงลงมาสัก 10dB หรือไม่ก็เยอะกว่านั้นเพื่อให้เสียงมันดังพอดีเท่ากัน ซึ่งจะได้ไม่ต้องไปใช้ Mix Bus Compression หรือไม่ก็ Limiter ในมิกซ์ของเรา


• ใช้ความเร็วในการเปรียบเทียบ (การสลับ A/B ไปมา) พูดง่ายๆก็คือการ Mute แทรคแล้วก็เปิดปิดสลับไปมาไวๆด้วยการใช้ปุ่ม Solo (A/B Comparison) มันจะช่วยปิดเสียงแทรคทั้งหมดที่เพลงของเรานั้นใช้อยู่แล้วก็ไปเปิดตัว Reference Track ขึ้นมาแทน ถ้าเรากดปุ่ม Solo อีกครั้ง มันก็จะไปปิดเสียงของ Reference Track แล้วก็เปิดเสียงของเพลงเรากลับขึ้นมานั่นเอง

• เพื่อนๆจะต้องทำขั้นตอนนี้ให้รวดเร็วมากที่สุดเพื่อให้หูและสมองนั้นจำสิ่งที่เราต้องการจาก Reference Track ได้ในขณะที่เรากำลังตัดสินใจทำเรื่องต่างๆกับแทรคของเรานั่นเอง เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว หูกับสมองของเราจะเริ่มปรับสภาพจนเราไม่สามารถจำเป้าหมาย(รวมถึงแยกความแตกต่าง)ของเราได้ด้วย Short Term Memory


• แล้วจะเริ่มเปรียบเทียบตอนไหนดี? เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัยกันว่าจะเริ่มใช้ Reference Track ตั้งแต่ตอนเริ่มทำมิกซ์เลยดีไหม หรือจะรอก่อนแล้วค่อยไปทำเอาทีหลัง แอดขอแนะนำเป็นวิธีแรก แต่ถ้าไม่ล่ะ? อย่างน้อยๆเพื่อนๆก็ต้องวิชามารด้วยการใส่ Pink Noise (เหมือนเสียงรบกวนทั่วไป แต่จะมีความพิเศษก็คือความดัง/เบาของมันจะสวนทางกับความถี่สูง/ต่ำ) ลงไปเพื่อให้ระดับเสียงของเรานั้นยังคงระดับอยู่



ลำดับขั้นตอนในการมิกซ์


เอาจริงๆ หลายๆอย่างที่สำคัญนั้นแอดก็ไล่เรียงมาจนครบแล้ว แต่ในหัวข้อนี้จะขอพาเพื่อนๆไปดูกันให้ลึกขึ้นบ้างทีละขั้นตอนๆเพื่อเป็นแนวทางการทำงาน อย่าลืมว่านี่เป็นแค่ความคิดเห็นของแอดนะ! เอาล่ะ มาดูกัน




1. ความดังและการ Pan เสียง

ขอเริ่มขั้นตอนแรกด้วยหัวข้อนี้เลย เพื่อนๆสามารถเริ่ม Pan เสียงได้ตั้งแต่ตอนเริ่ม แต่เราจะปรับความดังของเสียงเครื่องดนตรีทั้งชิ้นเดี่ยวๆหรือทั้งหมวดหมู่ได้เพียงแค่นิดเนียวเท่านั้นเพราะว่าเดี๋ยวเราก็ต้องไปทำ Compression ในขั้นตอนต่อไป หลังจากนั้นค่อยแวะกลับมาเรื่องความดังได้อีกรอบ แค่นิดเดียวเท่านั้นจริงๆนะ ย้ำ




2. Dynamic Range Compression

ถึงขั้นตอนที่เราจะต้องหาระดับของ Compression ให้ถูกต้องเมื่อเทียบกับ Reference Track สิ่งที่ควรทำโดยปกติแล้วนั้นจะคล้ายๆกับการกำหนด Range ของ Amplitude แต่เราจะให้ความสำคัญกับ Attack และ Release ในแต่ละหมวดหมู่ของเครื่องดนตรี หลังจากที่เสร็จตรงนี้ ให้เพื่อนๆกลับไปปรับเรื่องความดังของเสียงอีกครั้งนึง




3. การจัดเรียงความถี่

หัวข้อนี้จะไปเป็นเรื่องของการใช้ EQ สำหรับความถี่ในย่านกลางและสูงนั้นอาจจะดีอยู่แล้ว สิ่งที่เราต้องปรับก็คือเรื่องของเบสในย่านกลาง-สูงว่าเสียงมันอุ่นพอไหม? แน่นไหม? แล้วก็ทำให้เสียงมันใสขึ้น จากนั้นให้โฟกัสไปที่เรื่องของเบสกับกลองใหญ่ (Kick Drum) สิ่งที่ต้องการเลยก็คือการทำให้ความดังกับความกว้างของย่านความถี่นั้นสัมพันธ์กัน จากนั้นเพื่อนๆก็มากำหนดเรื่อง Route ของ Aux Bus แล้วก็มาปรับสมดุลความดังของเสียงให้เป็นหมวดหมู่ การใช้ Bass guitar eq นั้นก็ช่วยได้เยอะมากๆ นี่ก็ถือว่าวิธีทริคคร่าวๆ เพราะมันมีอีกหลายวิธีที่เพื่อนๆสามารถใช้ได้อีกเยอะมากๆ




4. ใส่เอฟเฟคเหมาะสม

ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ ให้เพื่อนๆกลับไปวิเคราะห์ถึงเสียงเอฟเฟคอย่างรีเวิร์บกับดีเลย์ดูว่าใน Reference Track ของเรานั้นว่าใช้มากน้อยแค่ไหน? ใช้ตอนไหน? เอฟเฟคที่ว่ามันถูกปรับให้เข้ากับบัสแล้วหรือยัง? ไม่ก็เอฟเฟคมันหลบออกจากเครื่องดนตรีเราไหม? ตั้งใจฟังเสียงพวกนี้ให้ดี แล้วก็ตัดสินใจว่ามันเหมาะสมกับมิกซ์ของเพื่อนๆหรือไม่

ทิปเล็กๆ: เพื่อนๆสามารถตั้ง EQ ที่สูงสุดไม่ก็ต่ำสุดกับ Reference Track ได้เพื่อให้มันแบ่งแยกความถี่ของเครื่องดนตรีออกจากกันได้ อย่างเช่นถ้าเพื่อนๆต้องการเริ่มโฟกัสกับเสียงเบสและกลองใหญ่ เราสามารถปรับ EQ เอาทุกความถี่ออกให้เหลือเพียงแค่เบสและซัพเบสใน Reference Track เพื่อให้เพื่อนๆนั้นได้ยินสิ่งที่ต้องการได้ชัดมากยิ่งขึ้น


ก็ตามนี้แหละครับสำหรับขั้นตอน ถ้าเพื่อนๆได้ทำตามที่ว่ามาแล้วนั้น บอกเลยว่าเพื่อนๆเริ่มเข้าใกล้กับมิกซ์ที่สมบูรณ์กับโทนเสียงที่ดีมากๆแล้ว จากนั้นก็แค่แต่งแต้มความเป็นตัวเองของเพื่อนๆลงไป ให้เห็นถึงความแตกต่างในเพลงของเพื่อนๆ Reference Track นั้นเป็นได้แค่ไกด์คร่าวๆอย่างเดียว ไม่ได้เป็นกฏตายตัวอะไรเลย เพราะฉะนั้น เป็นตัวของตัวตัวเอง อย่าให้สิ่งไหนมาอยู่เหนือการตัดสินใจของเราล่ะ


คำแนะนำก็คือเริ่มจากคลีนเสียงอัดเราก่อน จากนั้นก็ไปปรับความดังหลักของเสียงด้วยการใช้ทริค Pink Noise อย่างที่ว่าไว้ก่อนหน้า จุดนี้แหละที่เพื่อนๆจะเริ่มใช้ Reference Track และเริ่มปรับเสียงให้ได้ตามที่หวัง ปรับแพนเสียง รวมไปถึงการทำระดับ Compression


เชื่อว่าเพื่อนๆนั้นมีลิสท์ชื่อเพลงที่จะใช้มาอ้างอิงอยู่กันอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือค่อยๆค่อยหาเพลงจากอัลบั้มที่เราชอบไปเรื่อยๆ เพื่อคอยเตือนตัวเราเองว่าเพลงที่เราต้องการจริงๆคือเพลงไหน เพลงที่ดีที่สุดคือเพลงที่เพื่อนๆเปิดฟังแล้วร้อง “ว้าว” เพลงนั้นแหละเหมาะสมกับที่จะเป็น Reference Track ของเพื่อนๆ ครับ


.


และหากใครที่อ่านแล้วอาจจะยังไม่เข้าใจ สนใจเรียนเพิ่ม เราก็มีคอร์สเรียน Mix & Mastering สำหรับผู้ที่พอมีพื้นฐานและต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมให้ผลงานก้าวสู่ระดับมืออาชีพ ก็สามารถมาลงเรียนกับเราได้


ในราคาคอร์สเรียนแค่ 4,990 บาท

ซึ่งเนื้อหาที่คุณจะได้รับ รับรองว่าคุ้มแน่นอน



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo

Comentarios


bottom of page