top of page

ใช้ Reference Track ยังไงให้ปังเหมือนต้นฉบับ!



เชื่อว่าเพื่อนๆทุกคนนั้นต่างก็มีลิสต์อัลบั้มและเพลงในดวงใจที่เราคิดว่าเสียงซาวมันโคตรจะดีเลย บ่อยครั้งที่เราก็อยากจะให้เพลงของตัวเองออกมาเสียงแบบนั้น และก็อีกหลายครั้งเช่นกัน ที่เราต่างคิดว่า “เขาทำแบบนั้นกันได้ยังไงวะ”


ไม่ต้องคิดกันให้มากความครับ เพื่อนๆก็สามารถทำให้เพลงของตัวเองนั้นเสียงเทพแบบนั้นได้ด้วยการใช้เพลงที่เราเพลงเพลงนั้นแหละเป็นตัว Reference Track (แทรคอ้างอิง) ในการมิกซ์ สิ่งที่แอดจะสื่อก็คือเพื่อนๆจะได้มีเพลงที่เป็นเป้าหมายในการสลับแทรคไปมาเพื่อใช้เปรียบเทียบได้รวดเร็วนั่นเอง


ก่อนที่เราจะไปกันไกลกว่านี้ จะขออธิบายเอาให้กระจ่างกันก่อนว่า Reference Track คืออะไร ใช้ทำไม และใช้ยังไง


อะไรคือ Reference Track? แล้วมันใช้ดูอะไรได้บ้าง?


เจ้าตัว Reference Track คือเพลงที่ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความชำนาญ(ของเหล่ามือโปร) ซึ่งเราก็เอามาใช้สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างการมิกซ์และก็มาสเตอร์ริ่งที่จะเป็นตัวแทนว่าเพลงของเราจะออกมาเป็นยังไงในตอนที่ทำเสร็จแล้ว เมื่อเพื่อนๆยึดสิ่งนี้เป็นมาตรฐานในการทำเพลง สิ่งที่ได้ก็คือเป้าหมายที่ชัดเจนและสม่ำเสมอตลอดจนกระทั่งบรรลุตามที่หวังไว้นั่นเอง


3 สิ่งที่ควรคำนึงถึงตอนเปรียบเทียบเพลงเรากับ Reference Track


Volume, Panning, Effect


Dynamic Range (Compression)


Frequency Allocation หรือการจัดการย่านความถี่ของเสียง (โดยเฉพาะเสียงเบส)


ถ้าเพื่อนๆสามารถเอา 3 สิ่งเหล่านี้มาอยู่ในมิกซ์ของเพื่อนๆได้ บอกเลยว่าผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้เพื่อนๆปลื้มใจเป็นแน่ และไม่ใช่แค่ตัวเพื่อนๆเองอย่างเดียวนะ มันจะรวมไปถึงลูกค้าเราหรือคนที่ฟังเพลงของเราอีกด้วย ยิ่งในกรณีนี้ที่เราทำเพลงของตัวเองแล้วนั้น บอกเลยว่าตัวเพื่อนๆเองนั้นจะยิ่งทวีคูณความปลื้มปิติเข้าไปอีก


ให้คิดถึงเหมือนตอนที่เราใช้ Scratch Track ตอนอัดเสียงดู ที่จะช่วยเราประหยัดเวลาได้เยอะ มีตัวอ้างอิงมาใช้เทียบ แถมยังทำให้เราไม่หลุดอกจากกรอบที่ตั้งไว้ในขณะที่กำลังตั้งใจสร้างมิกซ์ออกมาในตอนสุดท้ายอีกด้วย


Reference Track สำคัญไฉน ?


จะบอกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นเยอะมากในตอนที่กำลังมิกซ์เพลง อย่างแรกเลยก็คือการที่เราสูญเสียมุมมองต่างๆหลังจากที่ฟังสิ่งเดิมๆองค์ประกอบซ้ำๆหลายๆครั้ง อีกทั้งเรายังต้องทรมานกับอาการอย่างหูล้าโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้


อีกปัญหานึงก็คือการที่พวกเรานั้นติดการใช้ลำโพงกับหูฟัง Monitor อย่างละอัน ในการฟังเสียง ซึ่งนั่นอาจจะไม่ใช่สภาพแวดล้อมจริงๆที่ดีที่สุดกับการมีเสียงสะท้อน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการที่เราคิดว่าเพลงของเรานั้นมันสมบูรณ์แล้ว ทั้งๆที่เพลงของเราไม่สามารถถูกถ่ายทอดออกมาได้ให้แม่นยำกับเครื่องเสียงอื่นๆอย่างลำโพงในรถหรือลำโพงตามร้านเหล้า


ดังนั้นแล้วการเทียบเสียงของงานเรากับ Reference Track นั้นมันก็ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะไปอยู่ในระบบเสียงยังไง สภาพแวดล้อมแบบไหน เสียงที่ได้ออกมานั้นก็จะสมบูรณ์แบบแน่ๆ จำไว้เลยว่าเพื่อนๆไม่ได้กำลังลอกงานของคนอื่นแต่อย่างใด สิ่งที่เพื่อนๆกำลังทำอยู่คือเพลงที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง แต่แค่เป้าหมายที่เราต้องการนั้นมันดีก็เท่านั้นเอง


Tip : การศึกษาองค์ประกอบของ Reference Track ที่เพื่อๆใช้อยู่เรื่อยๆนั้น จะทำให้เรารู้จักมิกซ์เพลงแทรคพวกนี้ได้ดียิ่งขึ้น แต่เพื่อนๆก็ไม่ควรที่จะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ในตอนที่กำลังทำเพลงของตัวเองอยู่ เพราะมันจะใช้เวลานานมากๆในการคิดวิเคราะห์แยกแยะ อีกเรื่องที่สำคัญก็คือเพื่อนๆจะต้องฟังเจ้า Reference Track ใน Set Up ที่เหมือนกับตอนมิกซ์เพลงของตัวเองทั้งอุปกรณ์แล้วก็สภาพแวดล้อมด้วย

Reference Track ที่ดีที่สุดเป็นยังไง?


ต้องขอเปิดเลยว่าไม่มี Reference Track ที่ดีที่สุดหรอก มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆขึ้นอยู่กับสไตล์ของเป้าหมายในการมิกซ์เพลง, ความหน้าแน่นในการเรียบเรียง หรือแม้แต่การประสานเสียง (ที่มีการใช้เครื่องดนตรี) Reference Track จะเปลี่ยนไปตามประเภทและเทรนตามยุดสมัยของดนตรี


เพื่อนๆจำเป็นต้องสร้างลิสต์รายการ Reference Track ของตัวเองขึ้นมา เป็นลิสต์ที่เพื่อนๆชอบ มีความหลากหลาย ทั้งประเภทดนตรี ทั้งสไตล์ของดนตรี เอาจริงๆหาตามเน็ตก็มีลิสต์ชื่อเพลงอยู่เพราะมันก็ผ่านพวก Mixing Engineer มาเยอะแล้วเหมือนกัน แต่มันก็เก่ามาแล้วจนแทบจะไม่มีค่าเลยสำหรับเพื่อนๆ ดังนั้นสร้างลิสต์ของตัวเองขึ้นมาแหละดีที่สุด


ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม เพื่อนๆก็จะต้องได้ฟังเพลงพวกนี้ไปเรื่อยๆอยู่ดี อย่างการที่เราไปได้ยินเพลงเพลงนึง แอดก็จะนึกถึงว่ามิกซ์ของเพลงนั้นมันดียังไง แล้วเราก็จะใช้ข้อดีจุดนั้นแหละ มาทำให้เพลงเพลงนั้นจะกลายเป็น Reference Track ชั้นเลิศให้กับเราได้



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo



Comments


bottom of page