ADMIN JAAFeb 17, 20236 สเต็ปของการเริ่มต้นเป็น Music Producer 1. สร้างสตูง่ายๆที่บ้านก่อนหาห้องสำหรับทำเพลงอาจจะเป็นห้องนอนห้องนั่งเล่น หรือ ห้องเปล่าๆ แต่สิ่งที่แนะนำให้มีเป็นสามัญประจำบ้านเลยก็คือ คอมพิวเตอร์, โปรแกรมทำเพลง, Audio Interface แล้วก็หูฟังหรือลำโพงมอนิเตอร์สักตัว อาจจะมีเพิ่มเป็นคีย์บอร์ดใบ้ (MIDI Controller) หรือของเล่นเสริมชิ้นอื่นๆก็ได้ถ้างบประมาณมากพอ2. รู้วิธีการใช้ DAW (Digital Audio Workstation)อย่าถามว่า DAW ไหนเสียงดีสุด แต่ให้ลองหา DAW ที่เราทำงานแล้วชอบที่สุดดีกว่า เพราะ DAW แต่ละตัวนั้นล้วนมีความสามารถที่โดดเด่นในแบบของตัวเอง ทำนู่นนี่นั่นได้ตามสั่ง แอดเลยอยากจะให้เพื่อนๆเลือก DAW ที่จะใช้ให้ดี เพราะเราต้องกินอยู่ ใช้ชีวิตร่วมกันอีกนานกว่าจะไปถึงฝั่งฝันได้ คนทำเพลงหลายๆคนก็จะมี DAW ที่ชอบเป็นของตัวเองเพราะงั้นก็เลือกตามที่เราถนัดดีกว่า3. การอัดเสียงขั้นพื้นฐานในข้อนี้ เราควรจำเป็นต้องศึกษาถึงวิธีการและรูปแบบของการอัดเสียงว่ามีแบบไหน เป็นอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถทำให้เรามี Workflow ในการทำงานได้มีประสิทธิภาพแถมยังช่วยประหยัดเวลาการทำงานได้อีกด้วยการอัดเสียงในสมัยนี้จะเป็นการบันทึกเสียงผ่านเข้าไปในโปรแกรมทำเพลง DAW และยังคงใช้เทคนิคหรือเบสิคที่ไม่ได้ต่างจากสมัยก่อนมากนัก เช่น Multitrack Recording, Overdubbing, Audio Editing4. การหา Loop หรือ Sample มาใช้หากเราไม่สามารถที่จะสร้างเสียงเครื่องดนตรีขึ้นมาได้ ก็อย่าลืมว่าเรายังมี Virtial Instrument ที่ช่วยสร้างเสียงสังเคราะห์ที่เราต้องการออกมาได้ มากไปกว่านั้น การหา Loop หรือ Sample มาใช้ก็ได้เช่นกัน ถ้าให้แนะนำ ใน DAW ของเพื่อนๆก็อาจจะมี Loop หรือ Sample ที่ติดมามาในโปรแกรมให้ใช้กันอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีอีกหลายเว็ปที่แจกฟรีให้ใช้หรือจะสมัครเป็นสมาชิคเพื่อใช้ Loop หรือ Sample อย่างถูกลิขสิทธ์ได้อย่างเว็ป splice.com ระวังก็แต่แค่เรื่องลิขสิทธิ์ในบางเว็ป ไม่งั้นได้หน้ามืดโดนฟ้องร้องลิขสิทธ์และเพลงเราจะมีปัญหาภายหลังแน่ๆ5. การมิกซ์เพลงรูปแบบของการมิกซ์นั้นมีหลายหลายและเยอะมากๆ เพราะงั้นวันนี้เราจะพูดถึงแค่เรื่องพื้นฐานก่อน เพื่อที่จะเอาไปต่อยอดได้ในอนาคต• การใช้ DAW ในการมิกซ์เพื่อตั้งระดับเสียงและตำแหน่งของเครื่องดนตรี (Stereo) ด้วย Fader และการ Pan เสียง• การ Balance ความถี่ด้วย Equalizer Plugin• การควบคุม Dynamics เครื่องดนตรีของทุกเสียงให้มีความราบลื่นในการฟัง• การใส่เสียงเอฟเฟคเพิ่มเข้าไปเช่น Reverb,Delay เพื่อให้เพลงมีมิติและสร้างความน่าสนใจแถมช่วยสร้างบรรยากาศ(Ambient) ในการฟังได้ดี6. หาเพื่อนร่วมงานหลากคนหลากความถนัด เพราะงั้น การทำงานร่วมกับคนอื่นก็ถือเป็นเรื่องที่น่าลองมากๆ เราถนัดมิกซ์เพลง แต่กลับอัดเสียงได้แย่ กับอีกคนที่อัดเสียงได้ใสมาก แต่กลับมิกซ์เพลงได้ปวดหัว มันจะดีกว่าไหมถ้าเราสองคนจะมาช่วยกันทำงานในสิ่งที่ตัวเองถนัด แถมยังช่วยในเรื่องของ Workflow ทำให้เพลงเสร็จไวแบบมีคุณภาพ
1. สร้างสตูง่ายๆที่บ้านก่อนหาห้องสำหรับทำเพลงอาจจะเป็นห้องนอนห้องนั่งเล่น หรือ ห้องเปล่าๆ แต่สิ่งที่แนะนำให้มีเป็นสามัญประจำบ้านเลยก็คือ คอมพิวเตอร์, โปรแกรมทำเพลง, Audio Interface แล้วก็หูฟังหรือลำโพงมอนิเตอร์สักตัว อาจจะมีเพิ่มเป็นคีย์บอร์ดใบ้ (MIDI Controller) หรือของเล่นเสริมชิ้นอื่นๆก็ได้ถ้างบประมาณมากพอ2. รู้วิธีการใช้ DAW (Digital Audio Workstation)อย่าถามว่า DAW ไหนเสียงดีสุด แต่ให้ลองหา DAW ที่เราทำงานแล้วชอบที่สุดดีกว่า เพราะ DAW แต่ละตัวนั้นล้วนมีความสามารถที่โดดเด่นในแบบของตัวเอง ทำนู่นนี่นั่นได้ตามสั่ง แอดเลยอยากจะให้เพื่อนๆเลือก DAW ที่จะใช้ให้ดี เพราะเราต้องกินอยู่ ใช้ชีวิตร่วมกันอีกนานกว่าจะไปถึงฝั่งฝันได้ คนทำเพลงหลายๆคนก็จะมี DAW ที่ชอบเป็นของตัวเองเพราะงั้นก็เลือกตามที่เราถนัดดีกว่า3. การอัดเสียงขั้นพื้นฐานในข้อนี้ เราควรจำเป็นต้องศึกษาถึงวิธีการและรูปแบบของการอัดเสียงว่ามีแบบไหน เป็นอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถทำให้เรามี Workflow ในการทำงานได้มีประสิทธิภาพแถมยังช่วยประหยัดเวลาการทำงานได้อีกด้วยการอัดเสียงในสมัยนี้จะเป็นการบันทึกเสียงผ่านเข้าไปในโปรแกรมทำเพลง DAW และยังคงใช้เทคนิคหรือเบสิคที่ไม่ได้ต่างจากสมัยก่อนมากนัก เช่น Multitrack Recording, Overdubbing, Audio Editing4. การหา Loop หรือ Sample มาใช้หากเราไม่สามารถที่จะสร้างเสียงเครื่องดนตรีขึ้นมาได้ ก็อย่าลืมว่าเรายังมี Virtial Instrument ที่ช่วยสร้างเสียงสังเคราะห์ที่เราต้องการออกมาได้ มากไปกว่านั้น การหา Loop หรือ Sample มาใช้ก็ได้เช่นกัน ถ้าให้แนะนำ ใน DAW ของเพื่อนๆก็อาจจะมี Loop หรือ Sample ที่ติดมามาในโปรแกรมให้ใช้กันอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีอีกหลายเว็ปที่แจกฟรีให้ใช้หรือจะสมัครเป็นสมาชิคเพื่อใช้ Loop หรือ Sample อย่างถูกลิขสิทธ์ได้อย่างเว็ป splice.com ระวังก็แต่แค่เรื่องลิขสิทธิ์ในบางเว็ป ไม่งั้นได้หน้ามืดโดนฟ้องร้องลิขสิทธ์และเพลงเราจะมีปัญหาภายหลังแน่ๆ5. การมิกซ์เพลงรูปแบบของการมิกซ์นั้นมีหลายหลายและเยอะมากๆ เพราะงั้นวันนี้เราจะพูดถึงแค่เรื่องพื้นฐานก่อน เพื่อที่จะเอาไปต่อยอดได้ในอนาคต• การใช้ DAW ในการมิกซ์เพื่อตั้งระดับเสียงและตำแหน่งของเครื่องดนตรี (Stereo) ด้วย Fader และการ Pan เสียง• การ Balance ความถี่ด้วย Equalizer Plugin• การควบคุม Dynamics เครื่องดนตรีของทุกเสียงให้มีความราบลื่นในการฟัง• การใส่เสียงเอฟเฟคเพิ่มเข้าไปเช่น Reverb,Delay เพื่อให้เพลงมีมิติและสร้างความน่าสนใจแถมช่วยสร้างบรรยากาศ(Ambient) ในการฟังได้ดี6. หาเพื่อนร่วมงานหลากคนหลากความถนัด เพราะงั้น การทำงานร่วมกับคนอื่นก็ถือเป็นเรื่องที่น่าลองมากๆ เราถนัดมิกซ์เพลง แต่กลับอัดเสียงได้แย่ กับอีกคนที่อัดเสียงได้ใสมาก แต่กลับมิกซ์เพลงได้ปวดหัว มันจะดีกว่าไหมถ้าเราสองคนจะมาช่วยกันทำงานในสิ่งที่ตัวเองถนัด แถมยังช่วยในเรื่องของ Workflow ทำให้เพลงเสร็จไวแบบมีคุณภาพ
Commentaires