Setup Home Studio ต้องใช้อะไรบ้าง ?
- Admin Pete
- Jul 19, 2021
- 2 min read

คราวที่แล้วเราพูดถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้ทำเพลงกันซึ่งมีแค่ 2 ชิ้น
แต่วันนี้เราจะหยิบอุปกรณ์ทำเพลงทุกชิ้นมาแนะนำกันเลยครับ
1.(Digital Audio Workstation)
ในส่วนของโปรแกรมทำเพลง จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนเลยครับ ซึ่งการทำงานของโปรแกรมทำเพลง ทุกโปรแกรมจะคล้ายๆกันหมดครับ สิ่งที่แตกต่างจะมีในส่วนของหน้าตาอินเตอร์เฟส และ Plugin ที่แถมมาให้กับโปรแกรมครับ
ลองดูใน Youtube หรือเข้าไปที่ Website ของแต่ละโปรแกรมทำเพลงก่อนก็ได้ครับ ดูจากการใช้งานเบื้องต้นก่อน ว่าเราชอบแบบไหนถนัดแบบไหน และเลือกตามความต้องการของตัวเองได้เลยครับ จริงๆควรเลือกโปรแกรมทำเพลงก่อนเลยก็ดีครับ
เพราะ Logic Pro X เป็นโปรแกรมเดียวที่สามารถใช้งานได้แค่ Mac OSX เท่านั้นครับ

2.Computer (PC,Mac,Notebook)
Computer คืออุปกรณ์หลักที่ใช้ในการทำเพลง และในยุคนี้ Computer ก็มีให้เลือกใช้เยอะแยะมากมาย ราคาก็จะขึ้นอยู่กับสเป็คของคอมพิวเตอร์ว่าจะเอาแรงมากน้อยแค่ไหน และยังสามารถเลือกใช้ได้ทั้ง Windows,Mac OSX เรามาเริ่มกันที่ Windows ก่อนเลย ในส่วนของ Windows หรือ PC จะมี Choice ให้เลือกเยอะครับ เพราะสามารถประกอบคอมแยกเองได้ หรือจะซื้อแบบสำเร็จรูปก็ได้ ขึ้นอยู่กับงบประมานของเรา และในส่วนของการทำเพลง สิ่งที่จะต้องใช้หลักๆเลย ก็คือ CPU,Ram และ Harddisk เพราะฉะนั้นเรามาดูสเป็คที่เหมาะสำหรับการทำเพลงกันเลยครับ

3.Monitor Speaker
อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ และขาดไม่ได้เลยในการทำเพลง แต่หลายคนคงสงสัยใช่ไหมครับ ว่าทำไมใช้ลำโพงทั่วไปไม่ได้ เป็นเพราะ Monitor Speaker ให้เสียงที่เที่ยงตรงและแม่นยำกว่า มีความทนทานและรับแรงสั่นสะเทือนจากเสียงได้สูง การอัดเสียง Dynamic Range ของเสียงจะกว้างกว่าหลายเท่า จึงต้องใช้ลำโพง Monitor Speaker ในการใช้งาน ส่วนราคาของ Monitor Speaker มีให้เลือกตั้งแต่ 3 พันต้นๆ ไปจนถึงหลักหมื่น ถ้าในงบ 3 พันต้นๆก็จะมี Mackie CR3
แต่ถ้าใครที่มีงบประมานเยอะ เราแนะนำเป็นตัวนี้เลยครับ KRK Rokit 5 ที่มาในขนาด 5 นิ้ว

4.Audio Interface
เมื่อมี Monitor Speaker ก็ต้องใช้ควบคู่กับ Audio Interface ถ้าเรียกง่ายๆตามคนไทยมันก็คือ ซาวน์การ์ดนี้แหละครับ Audio Interface เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับบันทึกเสียง และแปลงสัญญาณ Analog ให้เป็นสัญญาน Digital หรือพูดง่ายๆเลย แปลงสัญญาณต่างๆ เป็นหัว USB เพื่อจะต่อเข้ากับตัว Computer นั้นเองครับ สำหรับใครที่ต้องการอยากอัดเสียงเข้ากับตัวโปรแกรมทำเพลงต่างๆ แต่หัวไมโครโฟน เป็นหัวแบบ XLR ก็สามารถใช้ Audio Interface แปลงสัญญานได้ และหลายๆคนไม่รู้ด้วยครับ ว่าการต่อ Monitor Speaker ใช้สาย XLR ในการเชื่อมต่อ เพราะฉะนั้นซื้อลำโพงมาแต่ไม่มี Audio Interface ก็ไม่สามารถต่อเข้า Computer ของเราได้ ส่วนงบประมานของ Audio Interface แนะนำไม่เกิน 5 พันบาทก็ได้ตัวที่มีคุณภาพแล้วครับ และยี่ห้อที่แนะนำก็จะเป็น
Native Instruments KOMPLETE AUDIO1 (ราคา 4,850 บาท)
Focusrite Scarlett Solo USB Gen 3 (ราคา 4,990 บาท)

5.Condenser Microphone
โมโครโฟนเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการอัดเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง หรือเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ เราจึงต้องใช้ Condenser Microphone เพราะมีการตอบสนองของเสียงที่ดี สามารถรับความถี่เสียงได้กว้าง
และได้ Dynamic ที่ดีกว่าไมโครโฟนปกติทั่วไป ซึ่งไมโครโฟนเองก็มีหลายรุ่นหลายราคา ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน แต่ถ้าให้แนะนำสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำสตูดิโอ ให้ใช้งบประมานไม่เกิน 4,000 บาทก็ได้ครับ ถือว่าใช้งานได้ในระดับดีเลยทีเดียว
ส่วนยี่ห้อที่แนะนำคือ Audio Technica AT2035 ราคา 3,400 บาท ฟังชั่นที่ให้มาก็พอเพียงสำหรับการอัดเสียง พร้อมทั้งให้คุณภาพเสียงที่ดีด้วย แต่ถ้าใครงบเหลือๆ ก็ขยับไปเล่น AKG หรือ RODE ได้เลย ราคาก็จะมีตั้งแต่ 5,200 บาท จนถึงหลักหมื่น

6.MIDI Keyboard
MIDI Keyboard คือ คีย์บอร์ดไฟฟ้าที่สามารถใช้ต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อทำการเขียนโน๊ตต่างๆ ผ่านโปรแกรมการทำเพลงที่อยู่บนคอมพิวเตอร์ครับ
บางคนสงสัยว่า ไม่มี MIDI Keyboard ทำงานได้ไหม ? ทำได้ครับ โดยการใช้เม้าส์เขียนโน้ตทีละตัวแทน แต่สำหรับบางฟังชั่นที่ต้องใช้ MIDI Keyboard เลยจะเป็นพวก Live Performance หรือคนที่ต้องการ การอัดเสียงในขณะที่เราเล่นคีย์บอร์ด MIDI Keyboard อำนวยความสะดวกได้หลายด้าน เพราะฉะนั้นถ้าเริ่มต้นทำเพลง ยังไม่ต้องซื้อก็ได้ครับ ส่วนยี่ห้อ แนะนำเป็น Korg,Novation,Akai,M-Audio และ Native Intruments ครับ มีตั้งแต่งบประมาน 4,000 จนถึง หลักหมื่น

7.Sample Library,Plugin
การใช้งาน Sample Library หรือ Plugin ที่แถมมากับโปรแกรมทำเพลง ก็สามารถสร้างผลงานเพลงได้เช่นกัน แต่รายละเอียดของปลั๊คอินของตัวที่แถมมาให้กับโปรแกรมทำเพลงบางตัว ก็ไม่สามารถสู้ Third Party Plugin ได้ เช่น ความละเอียดในการปรับค่าต่างๆ และ Effects ที่มีมากกว่าตัว Stock Plugin รวมไปถึงคุณภาพของเสียงที่ดีกว่าตัว Stock Plugin เพราะฉะนั้น เราสามารถเลือกซื้อตามการใช้งานจริง หรือถ้าพึงพอใจใน Stock Plugin แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเพิ่มครับ

นี้คืออุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ในงาน Music Production หรืองานทำเพลงนั้นเองครับ ทั้งหมด 7 อย่างนี้ถือว่าครบแล้วกับการทำเพลง ที่เหลือก็จะเป็นเครื่องดนตรีต่างๆ ที่นำมาใช้สำหรับการอัดเสียงเข้าสู่โปรแกรมทำเพลงครับ ใครใช้อะไรตัวไหนกันอยู่ลอง Comment มาอวดเพื่อนๆกันได้เลยครับ
Youtube : Tong Apollo
Instagram : classabytongapollo
Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo
TikTok : Class A by Tong Apollo
#สอนทำเพลงออนไลน์ #แต่งเสียงร้อง #classabytongapollo
Comments