สำหรับคนที่ใช้ reverb ในการแต่งเสียงต่างๆอยู่ วันนี้เรามีข้อควรระวัง มาแนะนำกันครับ ซึ่งเป็นข้อควรระวัง ที่คุณอาจจะใช้ reverb กันอยู่แบบผิดๆครับ เราไปดูกันที่ข้อแรกเลย
1. ไม่ EQ หลังใส่ REVERB
การใส่ reverb เป็นการทำให้เสียงนั้น มีมิติ มีความลึก มากขึ้น แต่ถ้ารู้ไหมครับ ว่าการใส่ reverb ก็มีผลต่อย่านความถี่เสียงเช่นกัน เราจึงต้องใช้ eq ในการจัดการย่านความถี่เสียงหลังใส่ reverb ครับ เพิ่มไม่ให้โทนเสียงของ reverb ในย่านความถี่นั้นๆ มีมากเกินไป หรืออาจจะเกิดเสียง resonace มากขึ้น ทำให้เสียงไม่สะอาดเราจึงต้อง eq หลังการใส่ reverb ครับ
2. ไม่ใส่ HIGH CUT หรือ LOW CUT FILTER
การใส่ low cut filter และ high cut filter หลังจากใส่ reverb ครับ ก็เป็นอีกสิ่งที่จำเป็นครับ เพื่อไม่ให้เสียงของ reverb นั้นเกิดอาการ over frequency หรืออาจจะไปทับกับ instrument ชนิดอื่นๆได้ ก็ควรใช้ low cut filter และ high cut filter หลังใส่ reverb เพื่อให้ได้เสียงที่ดีที่สุดครับ
3. ใส่ DECAY เยอะไป
การใส่ decay ให้กับเสียง reverb ที่เยอะไป เป็นอีกสิ่งนึงที่ต้องควรระวังเลยครับ บางคนอาจจะใส่ decay เยอะจนเกินไป เพราะรู้สึกว่า เสียงนั้นดูมีมิติดี ซึ่งการตั้งค่า decay ควรจะอยู่ที่ราวๆ 1ms - 3ms ครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเสียงที่เราใส่ด้วย อาจจะใช้ 1ms - 3ms เป็นจุดเริ่มต้นในการตั้งค่า decay ก่อนและฟังเสียงที่ได้ ว่าพึงพอใจไหม ถ้ายังไม่ได้ตามความต้องการ ก็สามารถปรับเพิ่มหรือลดดูได้ครับ
4. เลือกใช้ประเภทของ REVERB ไม่ถูกต้อง
การเลือกใช้ประเภทของ reverb เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามครับ เพราะมันมีผลต่อ character ของเสียง และยังสามารถทำให้เสียงนั้น เละและแย่ลง หรือทำให้เสียงนั้น blur ได้ครับ เพราะฉะนั้นควรเลือกใช้ประเภทของ reverb ให้เหมาะกับเสียงที่เราจะนำไปใส่ครับ ยกตัวอย่างเช่น
plate reverb เหมาะกับเสียงร้องและสแนร์ chamber reverb เหมาะกับเสียง guitar เสียง acoustic guitar และเสียงกลอง room reverb สามารถใช้ได้ทั้งเสียงร้องและเครื่องดนตรี hall reverb เหมาะกับ เสียงเครื่องดนตรีประเภทสาย หรือเสียง synth และ pads spring reverb เหมาะกับเสียง electronic guitar โดยเฉพาะ ถ้าเราใส่ประเภทของ reverb ได้ถูกต้อง ก็จะช่วยให้การแต่งเสียงนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ แต่ก็ไม่มีสูตรตายตัวว่าจะต้องทำตามประเภทที่เราบอกไป สามารถประยุคใช้ได้ แต่สำหรับมือใหม่ อาจจะลองใช้ให้ถูกประเภทและชำนาญกว่านี้ก่อนครับ
Comments