top of page

จูนเสียงแบบ 432 Hz เพราะกว่า 440 Hz จริงเหรอ ?



สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมเราถึงได้ใช้ย่านความถี่ที่ 440 Hz เป็นค่ามาตรฐานเวลาเราทำเพลง แล้วที่เคยเห็น 432 Hz แบบผ่านๆตาล่ะ มันเป็นมายังไง? แล้วต่างกันไหม? วันนี้เราจะพาไปดูกันว่าย่านความถี่ของเสียง 432 Hz กับ 440 Hz จะต่างกันมากน้อยแค่ไหน Let’s Go!


ส่วนแตกต่างที่สำคัญหลักๆระหว่างย่านความถี่ 440 Hz กับ 432 Hz ก็คือการตั้งเสียงแบบ 440 Hz นั้นเป็นค่า Pitch มาตรฐานที่ชอบใช้สำหรับการจูนเสียงเครื่องดนตรีและยังถูกยอมรับให้เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมวงการเพลงด้วย ส่วน 432 Hz นั้น ตัว Pitch จะมีความแบนกว่า 440 Hz เล็กน้อย แต่เจ้า 432 Hz ก็มีคุณสมบัติรอบด้าน จึงมีหลายคนที่ต้องการจะให้ 432 Hz กลายเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมวงการเพลงแทนที่ 440 Hz


เอาล่ะทุกคน เดี๋ยวเราจะพาไปดูประวัติกันว่าทำไมเจ้า 440 Hz ถึงได้ถูกยอมรับกันในวงการเพลงสมัยใหม่ แล้วทำไม 432 Hz ถึงได้กลับมาฮิตอีกรอบ


ขอย่อๆกับประวัติมาตรฐานการจูนเสียง


ในช่วงไม่กี่ศตวรรษที่ผ่านมา โทนเพลงแนวคลาสสิคของทางฝั่งโลกตะวันตกเกิดการผันผวนขึ้นมาอย่างมาก เพราะตอนแรกๆนั้น พวกพี่ๆยังไม่มีการสร้างมาตรฐาน Pitch ของเครื่องตนตรีขึ้นนมาเพื่อใช้ตั้งเสียง ซึ่งมันก็รามไปทำให้เครื่องดนตรี Orchestra ที่แต่ละชิ้นก็ตั้ง Pitch กันคนละเสียงมั่วไปหมด


นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 “A4” ถูกยึดและถูกใช้ให้เป็นการมาตรฐานของโลกดนตรีตะวันตก ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละที่ในแต่ละประเทศ แต่ด้วยตัวของ “A4” เองนั้น มันก็ควรจะอยู่ในช่วงระหว่าง 400 Hz ถึง 480 Hz


การตั้งชื่อตาม Heinrich Hertz นั้นมีที่มาจากการที่พี่แกได้พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสำเร็จในปี 1830 จากนั้นหน่วยนับ “Hz” เลยมีความหมาย “รอบต่อวินาที” นักประพันธ์เพลงชื่อก้องโลกอย่าง Mozart, Bach และ Beethoven ต่างก็ตั้ง Pitch ของ Orchestra กันต่างออกไปแม้ว่าส้อมเสียง(อุปกรณ์จูนเสียง) จะถูกคิดค้นขึ้นมาแล้วก็ตาม โน๊ตที่ประพันธ์กันมา ก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับส้อมเสียงของใครของมัน


หลังจากความพยายามที่จะแก้ไขและปรับค่ามาตรฐานในการตั้งเสียง Orchestra อย่าง A435, A451 และ A439 “องค์กรระหว่างประเทศเพื่อความเป็นมาตรฐาน” ก็ได้ออกมายึดให้ 440 Hz เป็นค่ามาจรฐานสำหรับ A4


แต่ใช่ว่านัก Orchestra ทุกคนจะยอมรับค่ามาตรฐานนี้ ตัวอย่างเช่นวง The New York Philharmonic ก็ได้ใช้ 442 Hz หรือแม้กระทั่ง the Boston Symphony Orchestra ก็ได้ใช้ 441 Hz รวมไปถึงวง Symphonies ในประเทศต่างๆในยุโรปก็ได้ใช้ค่า 443 Hz กับ 444 Hz เอาจริงๆเราก็สามารถที่จะได้ยินเสียงความต่างอยู่ แต่มันเล็กน้อยมากๆๆๆ


ยุคทองแห่ง 432 Hz


นักดนตรีหลายคนรวมไปถึงคนที่ไม่ใช่นักดนตรีด้วยก็ตามต่างออกมาต่อต้าน 440 Hz ที่เป็นค่ามาตรฐานกลางในอุตสาหกรรมสำหรับการอ้างอิงในการตั้งเสียง แค่เพื่อนๆลองพิมพ์ “432 Hz” ลงไปใน Google บอกเลยว่าจะเจอกับความเห็นสุดโต่งเลยที่ออกมาให้เหตุผลว่าทำไม A432 ถึงสุดกว่า A440 เหตุผลก็คือเจ้า A432 สามารถคงรักษาความเป็นสากลและจิตรวิญญาณเอาไว้ เทียบกับ A440 ที่มีแต่จะสร้างความขุ่นเคืองชวนโมโห


เพื่อให้รู้เรื่องพื้นหลังคร่าวๆที่ว่าทำไม 432 Hz ถึงบูมขนาดนี้ อยากจะขอยกชื่ออย่าง Joseph Sauver นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสจากปี 1713 ที่มากับกับทฤษฎี”วิทยาศาสตร์กับ Pitch ปรัชญา”


โดยพื้นฐานแล้ว มาตรวัดนี้ไม่ได้ตั้งให้ A440 เป็นค่าอ้างอิง และแทนที่ A4 ด้วย 430.54 Hz กับค่า middle C-C4 ที่ 256 Hz


นอกจากนี้ เฮียแกยังอธิบายเพิ่มว่าการจับให้ middle C มีค่าเป็น 256 Hz นั้น เราทุกคนจะสามารถสร้างระบบที่ที่แต่ละ Octave หรือ Factor ของ C จะจบด้วยเลขคู่แทนที่จะไปปวดหัวกันที่เลขทศนิยม




นอกจากนี้ ยังมีพี่ Giuseppe Verdi นักประภันธ์เพลงชาวอิตาลี่ในช่วงศตวรรตที่ 19 ก็ได้สนับสนุนการจูนเสียงแบบนี้ด้วยเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับสถาบัน Schiller


ด้วยการใช้การตั้งค่าอย่าง Twelve True Fifths โดย Maria Renold ก็สามารถหาทางให้สำหรับ C256 ให้เหมาะสมบนเสกลเดียวกันกับ A432


แล้วย่านไหนดีกว่ากันล่ะ?


ก็ต้องขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่าเกือบทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องดนตรีนั้น ไม่ว่าจะเรื่อง 432 Hz กับ 440 Hz ก็ตาม ล้วนขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคล เลือกตามที่ชอบ เลือกตามใจเราต้องการแหละ ดีที่สุดแล้ว




สรุป


โดยส่วนตัวแอด(ตัวผู้เขียนบทความดั้งเดิม)แล้วนั้น ค่อนข้างให้ไปทาง 432 Hz มากกว่า คือมันจูนเสียงร้องง่ายกว่า แต่ก็ตามที่ว่าไป เพื่อนแอดหลายๆคนก็เลือกที่จะใช้ 440 Hz ในการตั้งเสียง

บอกตรงๆเลยว่าเราไม่สามารถที่จะยืนยัน “ความเป็นสากล” จากสรรพคุณต่างของ 432 Hz ได้ แต่ก็เถียงไม่ได้เช่นกันว่า 440 Hz จะดีกว่าเมื่อเอาไปเทียบกับ 432 Hz ไม่แปลกเลยที่เราจะใช้ A440 อยู่เรื่อยๆเพื่อค้นหาความชอบอะไรสักอย่างในตัวเรา แต่ท้ายสุดแล้ว A432 จะดีกว่าจริงไหม อยู่ที่เพื่อนๆจะต้องพิสูจน์กันเอาเองครับ

Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo

Comentarios


bottom of page