top of page
Writer's pictureADMIN JAA

ทำเพลงให้ปังด้วยการอัดแบบ Multitrack!



ทำเพลงให้ปังด้วยการอัดแบบ Multitrack!


การบันทึกเสียงแบบ Multitrack นั้นถือเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการผลิตเพลง ซึ่งบอกเลยว่าเป็นวิธีที่เหล่าโปรดิวเซอร์มืออาชีพใช้กันอย่างแพร่หลายมากๆ

แต่ถ้าเพื่อนๆยังเป็นโปรดิวเซอร์มือใหม่อยู่มันก็อาจจะแอบเข้าใจยากนิดนึงที่ว่าเจ้าตัว Multitricking มันคืออะไรกันแน่? แล้วทำไมมันถึงเป็นที่นิยม? เดี๋ยววันนี้แอดจะช่วยไขข้อข้องใจให้เอง ไปดูกันเลย!


การบันทึกเสียงแบบ Multitrack คืออะไร?

การบันทึกเสียงแบบ Multitrack คือ การเรียบเรียงโดยการบันทึกแต่ละเสียงหรือแต่ละองค์ประกอบทีละส่วนแยกกัน ในการบันทึกแบบ Multitrack องค์ประกอบพื้นฐาน เช่น กลองหรือเครื่อง Percussion จะถูกบันทึกก่อน โดยเครื่องดนตรีชิ้นต่อๆไปจะวางใน Track อันใหม่ไปเรื่อยๆ นักดนตรีแต่ละคนนั้นจะต้องมีการอ้างอิง Tempo สำหรับ Multitracking เพื่อใช้ล็อคในช่วงข้าม Take ซึ่งหมายความว่าผู้เล่นแต่ละคนจะบันทึกพาร์ทของตัวเองโดยใช้ Metronome เพื่อให้จังหวะสอดคล้องกัน

ในระหว่างการทำ Multitracking นั้น ศิลปินอาจมีการทำ Overdub เพื่อทำให้เสียงหนาขึ้นหรือใส่รายละเอียดเพื่อเพิ่มสีสันให้กับการเรียบเรียงเพลงก็ได้เช่นกันครับ


ทำไม Multitracking ถึงเป็นที่นิยมมากกว่าการบันทึกเสียงแบบสด?

ถ้าจะพูดถึงวิธีอัดเสียงที่ง่ายที่สุด ยังไงก็ต้องเป็นการอัดเสียงการแสดงทั้งวงแบบสดอยู่แล้ว เราอาจจะรู้จักกันในชื่อ live หรือ live-of-the-floor ซึ่งแนวเพลงที่นิยมด้วยอัดเสียงวิธีนี้ก็คือ แจ๊ส ที่ต้องใช้การด้นสด (improvise) เยอะ เพราะว่าแต่ละเทคที่อัดก็จะเล่นออกมาไม่เหมือนกันนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ถึง live-of-the-floor สามารถถ่ายทอดความเป็นธรรมชาติของการเล่นสดออกมาได้ มันก็จะมีข้อเสียที่เด่นมากๆอยู่ เช่น การตามเก็บบันทึกเสียงนักดนตรีทั้งวงพร้อมกันเนี่ยก็ยากยิ่งกว่าอะไร แถมเป็นการบังคับกลายๆให้ Sound Engineer ต้องมาคอยทำช้าๆค่อยเป็นค่อยไป โดนเฉพาะตอนที่พวกเขากำลังทำงานกับ Input ที่จำกัดบน Audio Interface ครับ


ละยังไม่พอ! วิธีนี้ก็ยังยากสำหรับนักดนตรีเหมือนกัน เพราะการทำพลาดแค่หนึ่งครั้งของคนๆนึงก็สามารถทำให้เทคนั้นพังได้เลย ซึ่งแปลว่าทั้งวงก็ต้องเล่นกันหน้าตึงเปรี๊ยะกันเลยทีเดียวเพื่อที่จะให้ผลลัพธ์มันออกมาดี

เมื่อมาลองนึกถึงสิ่งเหล่านี้แล้ว รายละเอียดในการเล่นของพวกเพลง Pop, Rock หรือ R&B ในแต่ละเทคจึงไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก เอาจริงๆในพวกเพลงสไตล์เหล่านี้ศิลปินก็อยากจะเล่นในเวอร์ชันที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และ Sound Engineer ก็ต้องการที่จะเก็บเสียงในแบบที่เคลียร์ที่สุดด้วยเช่นกัน

เพราะฉะนั้น multi-tracking ก็เลยเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับดนตรีแบบทั่วไปในปัจจุบันนั่นเอง มันดีตรงที่ศิลปินก็สามารถพยายามกี่ครั้งก็ได้ในส่วนที่ยาก หรือเน้นย้ำในส่วนใดส่วนหนึ่งจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ตัว Sound Engineer เองก็ยังสามารควบคุมปัจจัยต่างๆเพื่อให้การอัดเสียงแต่ละส่วนออกมาดีที่สุดอีกด้วย


Multitracking Workflow?

ที่นี้เพื่อนๆพอจะรู้เรื่องพื้นฐานกันแล้ว งั้นเรามาดูกันว่าในการผลิตเพลงแบบ multitracking มีวิธีการทำงานยังไง


1. เลือก Tempo

ถ้าเพื่อนๆตั้งค่าไปแล้ว จะมาเปลี่ยนแปลงตัว Tempo ทีหลังคงทำได้ยาก ดังนั้นก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า BPM อันนี้มันที่ดีที่สุดสำหรับเพลงแล้ว

ให้เพื่อนๆลองเซ็ทค่า BPM ใน DAW และเปิดใช้งานตัว Metronome เพื่อฟังจังหวะครับ


2. สร้าง Scratch Track

หลายๆครั้งที่การตั้งจังหวะแค่อย่างเดียวก็คงไม่พอที่จะไกด์ให้ศิลปินตอนอัดเสียงได้ ฉะนั้นมันเลยง่ายกว่าถ้าเราจะสร้าง Track ขึ้นมาลวกๆสักอัน (Scratch Track) เพื่อให้เห็นภาพรวมหรือจับฟีลลิ่งของเพลงที่จะอัดได้ ซึ่งไอ้ Scratch Track นี้ก็มักจะเป็นเครื่องดนตรี Harmonic อย่างพวก กีตาร์หรือคีย์บอร์ด ในทางกลับกัน มันก็เป็นเรื่องปกติที่จะอัดเสียงร้องแบบดาดๆไปก่อน เพื่อใช้เนื้อเพลงเป็นตัวยึดในการให้จังหวะสำหรับคนเล่นเครื่องดนตรีก็ได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว Scratch Track จะมีจุดประสงค์ตรงที่มันเอาไว้ ‘อัดซ้ำ’ ทีหลัง เพื่อให้ Setup ของเรานั้นครบครันมากยิ่งขึ้น ไม่ก็ทำให้ Performance ของเราๆนั้นดีเกินมาคราฐาน!

พอเป็นแบบนี้แล้ว นักดนตรีคนถัดๆไปก็จะได้ไปโฟกัสกันในส่วนของตัวเอง โดยที่ไม่ต้องมากังวลเรื่องการเรียบเรียงเพลง (Arrangement) นั่นเอง


3. อัดเสียง Bed Track (ส่วนพื้นฐาน)

กำหนดความเร็วของเพลงแล้ว Scratch track ก็มีแล้ว ที่นี้ก็เริ่มอัด Bed track กันได้เลย

โดยทั่วไปแล้ว เราควรจะอัดในส่วนของจังหวะเพลงอย่างกลองกับเบส รวมไปถึงพวก Beat แล้วก็ Loop ด้วยก่อนเพื่อเป็นรากฐานให้กับเพลง

ส่วนที่สำคัญมากๆสำหรับกลองที่จะทำให้เสียงที่อัดมามีความแม่นยำมากที่สุดก็คือ Multitracking เพราะว่าด้วยตัวกลองชุดเองที่ถูกเซตไมค์เอาไว้ทั่ว เลยอัดเสียงแยกกันได้ตั้งแต่ 8 ถึง 12 Channel เช่น Kick,Snare,Hihat,Tom,Cymbals


4. เพิ่มส่วนหลัก

เมื่อเซ็ท Bed Track แล้ว เพื่อนๆก็สามารถเริ่มบันทึกเสียงที่เหลือได้ ตรงนี้แหละที่เพื่อนๆจะต้องเพิ่มเครื่องดนตรี Harmonic อย่างพวก กีต้าร์ หรือ คีย์บอร์ด เข้าไป เช่นเดียวกับพวกองค์ประกอบนำ เช่น เสียงร้อง เอาง่ายๆว่าพอมีพื้นฐานแล้ว จัดหนัก จัดเต็ม ใส่ไปแบบเบิ้มๆได้เลย หรือจะเน้นทีละส่วนก่อนก็ได้เช่นกันครับ


5. Overdub

ด้วยส่วนประกอบหลักทั้งหมด นักดนตรีสามารถ Overdub หรือส่วนเพิ่มเติมที่ต้องการรวมเข้าไปใน Arrangement ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นอะไรก็ได้ ตั้งแต่ Double Tracks ตัวเสียง ไปจนถึงการโซโล่, ฮาร์โมนี่, หรือหาไรแปลกใหม่ใส่ลงไปก็ได้เหมือนกัน

ถ้าเทียบกันแล้ว Overdub จะช่วยให้คนเล่นเครื่องดนตรีมีอิสระในลองอะไรใหม่ๆมากกว่าการขึ้นแสดงสด แล้วนี่ก็ถือเป็นหนึ่งในจุดแข็ง Multitracking เลยครับ


6. แก้ไขแต่ละองค์ประกอบ

เรารู้กันดีว่า Multitracking คือการสร้างเพลงโดยการเพิ่มองค์ประกอบเข้าไปเรื่อยๆ—แต่เมื่อเพื่อนๆได้เพิ่มเนื้อหาทั้งหมดเข้ามันก็อาจต้องแก้ไข (หรือตัดส่วนเกินออก) สักหน่อยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดครับ


Multitrack Multiverse

การอัดเสียงแบบ Multitrack นั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องพื้นฐานของการทำเพลง แต่ทว่ามันกลับครอบคลุมทุกส่วนของการทำเพลงเลย

ไม่ว่าเพลงที่ทำจะเป็นแนวไหนก็ตาม ยังไงเพื่อนๆก็คงจะต้องเจอพวกหลักการของ Multitrack ในการทำงานแน่ๆไม่มากก็น้อย


เอาล่ะ ในเมื่อเรามีพื้นฐานกันแล้ว ก็ถึงเวลากลับไปรังสรรค์ผลงานของเพื่อนๆกันต่อได้เลย!



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo



Comments


bottom of page