เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมครับว่าอัลบั้ม EP คืออะไร? แล้วมันแตกต่างจากตัวอัลบั้ม LP ยังไง? เป็นอีกคำถามยอดฮิตเลยครับ แต่ดันตอบยากมากๆเสียด้วย! วันนี้ผมจะพาไปสำรวจความแตกต่างกันระหว่าง EP และ LP ตั้งแต่เริ่มแรกกันเลยครับ
ต่างกันอย่างไร?
เอาง่ายๆสั้นๆเลยก็คือ”การตลาด”ครับ การเลือกออกเพลงระหว่าง LP หรือ EP นั้นย่อมมาจากการคำนวนต้นทุนต่างๆ รวมถึงไอเดียที่ใช้ในการทำเพลง การจัดสรรสรรพยากรต่างๆ ซึ่งผมจะขอพาเพื่อนๆไปเจาะให้ลึกว่านี้หน่อยว่าแท้จริงแล้วแต่ละอย่างมันคืออะไร
ทุกสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับแผ่นเสียง LPLP ย่อมาจากอะไร? LP ย่อมาจาก 'Long Play' หรือ 'Long Playing'
แล้วมันคืออะไร? พูดง่ายๆก็คือความหมายเหมือนกันกับ ‘อัลบั้มเต็ม’
ต้นกำเนิดและประวัติของอัลบั้ม LP แผ่นเสียงประเภทนี้ได้รับการผลิตและพัฒนาโดยค่ายเพลงสัญชาติอเมริกันที่ชื่อ Columbia Records ในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งในขณะนั้น มาตรฐานทางอุตสาหกรรมคือแผ่นเสียงที่มีขนาด 12 นิ้วที่สามารถเล่นเพลงได้ที่ 78 rpm ให้เสียงเพียง 5 นาทีต่อครั้ง ซึ่งแผ่นเสียงที่เพิ่งเปิดตัวของ Columbia นั้นเล่นด้วยความเร็วที่ลดลงเหลือ 33.3 rpm ซึ่งได้เพิ่มความจุเสียงของแผ่นเสียงในขนาด 12 นิ้วเท่าเดิมครับ
เริ่มแรกแล้ว LP นั้นใช้สำหรับทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องมีการปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของการบันทึกที่สั้น 78 rpm และในที่สุดแผ่นเสียงนี้ก็มีการใช้กับแพร่หลายมากขึ้น และความนิยมในรูปแบบนี้ทำให้เกิด”ยุคอัลบั้ม” ซึ่งเป็นช่วงเวลา 50 ปีที่อัลบั้มเต็มได้ครอบครองอุตสาหกรรมเพลงจนมาจนถึงทุกวันนี้ครับ เป็นที่คาดหวังจากแฟนๆว่าศิลปินควรสร้างสรรค์ผลงานเพลงเพื่อเติมเต็มรูปแบบของอัลบั้มเต็ม
LP สามารถบันทึกไว้ได้นานแค่ไหน? เดิมทีแผ่นเสียงขนาด 12 นิ้วสามารถเก็บเสียงคุณภาพสูงได้ประมาณ 23 นาทีต่อแผ่น ซึ่งโดยทั่วไปหมายความว่าแผ่นเสียงนี้จะประกอบไปด้วยเพลง 10-12 เพลง โดยแต่ละเพลงมีความยาวเฉลี่ย 3 ถึง 3.5 นาที อัลบั้มเต็มแผ่นเสียงจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 30-45 นาที ถึงแม้ว่าเพลงจะพัฒนาจากแผ่นเสียงไปสู่เทปคาสเซ็ตต์ไปจนถึงคอมแพคดิสก์ไปจนถึงการสตรีมออนไลน์ แต่ศิลปินก็ยังคงออกอัลบั้มเต็มจำนวน 10-12 เพลง ซึ่งสะท้อนถึงความจุของแผ่นเสียงครับ
ทุกสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ EPEP ย่อมาจากอะไร EP ย่อมาจาก 'Extended Play'
แล้ว EP คืออะไร? โดยทั่วไปแล้ว EP นั้นหมายถึง ‘มินิอัลบั้ม’ หรือ ‘ครึ่งอัลบั้ม’ อาจดูเหมือนขัดกับลักษณะของตัว LP เรื่องความยาวในการ record เพลง แต่อัลบั้ม EP นั้นจะขยายออกไปในเรื่องของการออกเพลงเดี่ยว
ที่มาและประวัติของอัลบั้ม EP EPs บางส่วนนั้นมาจากรูปแบบแผ่นเสียงไวนิลที่เกิดการแข่งขันกันกับตัว LP แผ่นเสียงที่พัฒนาโดย Columbia Records ทาง RCA Victor ก็ได้สร้างแผ่นเสียงที่มีขนาด 7 นิ้วที่สามารถเล่นเพลงด้วยความเร็ว 45 rpm และอัดเสียงได้ 7.5 นาทีต่อแผ่น
EP ถูกใช้ครั้งแรกเพื่อรวบรวมซิงเกิลให้เป็นมินิอัลบั้ม เช่นเดียวกับ album samplers เนื่องจากความสามารถของเครื่องเล่นแผ่นเสียงในเรื่องของการใช้ความเร็วที่แตกต่างกัน และความสำเร็จของ Elvis Presley’s 28 และอัลบั้ม EP ของ Walt Disney ที่มีทั้งการบันทึกเพลงเพื่อถ่ายทอดเรื่องต่างๆ แผ่นเสียง EP นี้จึงเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมนี้และยังคงได้รับความนิยมถึงแม้ว่าเทปคาสเซ็ตต์และซีดีจะเริ่มถูกนำมาใช้แล้วก็ตาม
EP สามารถบันทึกไว้ได้นานแค่ไหน? EP อาจมีความยาวที่แตกต่างกันมาก ตามกฎทั่วไปแล้ว เร็กคอร์ด EP จะยาวกว่าซิงเกิลและสั้นกว่าแผ่นเสียง LP แต่ความคาดหวังโดยทั่วไป EP จะอยู่ระหว่าง 3 ถึง 6 แทร็กและความยาว record ประมาณ 15 ถึง 30 นาทีครับ
ทำไมถึงต้องทำ EP ออกมากัน? มีเหตุผลหลายประการที่ศิลปินเลือกใช้รูปแบบนี้ ทั้งด้านงบประมาณ การตลาด และการมีส่วนร่วมของแฟนๆ อัลบั้ม EP มีราคาถูกกว่าการผลิตอัลบั้มเต็ม LP เป็นอย่างมาก และยังใช้เวลาน้อยกว่าสำหรับตัวศิลปินเอง เนื่องจากใช้แทร็กที่น้อยลงของ EP ยังรวมไปถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆเพื่อโปรโมตอัลบั้มเต็มที่กำลังจะมาถึง หรือเพื่อแนะนำให้ผู้ฟังได้รู้จักสไตล์ใหม่ๆที่ศิลปินจะมานำเสนอ นอกเหนือจากนั้น EP ยังช่วยให้แฟนๆ มีส่วนร่วมระหว่างช่วงระหว่างการเปิดตัวอัลบั้มเต็มอีกด้วยครับ
มาถึงตรงนี้หวังว่าเพื่อนๆคงจะเข้าใจในตัวของ EP ว่าแตกต่างจาก LP ยังไง ถึงแม้ว่าคำจำกัดความดั้งเดิมของ LP & EP นั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของทั้งสองเช่น เส้นผ่านศูนย์กลางแผ่นเสียงไวนิลรวมไปถึงความเร็วในการเล่นเพลง ปัจจัยข้อแตกต่างที่ว่ามาถูกนำมาเป็นกรอบและตีตราว่า EP และ LP ควรจะออกมาเป็นแบบไหน แต่ไม่ใช่กับยุคปัจจุบันตอนนี้แล้วครับ
อย่าง Kanye West ก็เพิ่งเปิดตัวหลายอัลบั้มที่อาจเรียกได้ว่าเป็น EP แต่ก็ไม่ใช่ ศิลปินสมัยนี้กำลังก้าวข้ามข้อจำกัดและปล่อยให้ความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวนำพากฏเกณฑ์ไปครับ
แม้กระทั่งในตอนนั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อวงร็อคโปรเกรสซีฟอย่าง Yes ออกอัลบั้ม "Close to the Edge" ในปี 1972 ซึ่งมีเพียงสามเพลงเท่านั้นแล้วมันคือ EP หรอ? เพราะว่าในแทร็กแรกมีความยาวมากกว่า 18 นาทีและมันก็กินความจุของแผ่นทั้งหมด และเวลาที่เล่นเพลงไปทั้งหมดคือ 36 นาที 25 วินาที
จะเห็นได้ชัดเลยความว่าจุดเปลี่ยนและความแตกต่างของ LP และ EP มันค่อยๆเลือนหายไป ทั้งสองล้วนถูกแสดงออกมาตามความต้องการของศิลปินที่อยากให้มันเป็นมากกว่าครับ
แล้วนิยามของ EP ในปัจจุบันเป็นแบบไหนเหรอ? อ่านมาถึงตรงนี้ผมก็มั่นใจว่าเพื่อนๆน่าจะรู้จักคำว่า Ep ดีแล้ว ถ้าจะบอกว่าปัจจุบันนี้คนเรานิยมฟังเพลงผ่านบริการสตรีมมิ่งออนไลน์เป็นอันดับหนึ่งก็คงได้ครับ แต่ถ้าเราลองมาดูพวกบริการสตรีมมิ่งเพลงเจ้าดังๆอย่าง Spotify, Apple Music, Pandora หรือ Tidal ก็จะมีความแตกต่างกันอยู่ในเรื่องของการนิยาม EP อยู่ครับ ซึ่งการรู้ถึงนิยามของ EP ในบริการสตรีมมิ่งก็สามารถทำให้เพื่อนๆจัดสรรรูปแบบการโปรโมทเพลงและการตลาดได้ดียิ่งขึ้นครับ ผมจึงขออนุญาติหยิบยกแค่มาเพียงแค่สองเจ้าอย่าง Spotify และ Apple Music เพื่อหานิยามนะครับ
EP บน Apple Music คืออะไร?
หากอัลบั้มของเพื่อนๆเป็นไปตามข้อกำหนด”ข้อใดข้อหนึ่ง”ต่อไปนี้ก็จะถือว่าเป็นอัลบั้ม EP ทันทีครับ
1. การเปิดตัวจะประกอบด้วย 1 ถึง 3 แทร็กทั้งหมด โดยหนึ่งแทร็กหรือมากกว่านั้นมีความยาวตั้งแต่ 10 นาทีขึ้นไป และการปล่อยทั้งหมดมีระยะเวลาน้อยกว่า 30 นาที
2. การเปิดตัวประกอบด้วย 4 ถึง 6 แทร็กและการเปิดตัวทั้งหมดต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที
อัลบั้มของเพื่อนๆจะเพิ่มเป็น "EP" โดยอัตโนมัติหากอัลบั้มของเพื่นอๆมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์สองข้อที่บอกไป
EP บน Spotify คืออะไร?
ผลงานของเพื่อนๆจะถูกจัดอยู่ในประเภทอัลบั้ม EP หากตรงตามเงื่อนไข”ทั้งสองข้อ”ต่อไปนี้:
1. การเปิดตัวมีระยะเวลาน้อยกว่า 30 นาที
2. การเปิดตัวมีทั้งหมด 4 ถึง 6 แทร็ก
เราควรออกอัลบั้มแบบ LP หรือ EP ดีกว่า? ความจริงก็คือ คำจำกัดความของรูปแบบอัลบั้ม EP กับ LP นี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและก็มีการเปลี่ยนแปลงมาเกือบทุกทศวรรษตั้งแต่แผ่นเสียงไวนิลถูกประดิษฐ์ขึ้นมาครับ ซึ่งเราก็ไม่ต้องไปใส่ใจมากครับ เลือกในแบบที่เพื่อนๆสบายใจที่จะทำดีกว่าครับ ยิ่งเป็นในยุคปัจจุบัน ศิลปินหลายคนก็เริ่มที่จะมองข้ามเรื่องนี้ไป แล้วเอาเวลาไปใส่ใจกับการปล่อยซิงเกิลที่ควบคุมได้ง่าย คล่องตัว รวมถึงปล่อยความสร้างสรรได้เรื่องๆโดยที่ไม่ต้องไปกังวลกับเพลงอื่นๆในอัลบั้มว่าจะคุมโทนได้ไหม
สรุปแล้ว ผมยังเชียร์ให้เพื่อนๆเลือกออกเพลงตามความต้องการของตัวเองเลยครับ บางคนอยากเล่าเรื่องยาวๆผ่านหลายๆบทเพลงที่เขียนไว้ บางคนก็แค่อยากทำเพลงไม่เยอะแต่อยากปล่อยเป็นชุดๆเพื่อโปรโมทตัวเองไปในตัว หรือแม้แต่เพื่อนๆบางคนที่อยากจะระเบิดความแปลกใหม่ในทุกๆเพลงที่ออกมา หรือศิลปินคนเดียวจะปล่อยเพลงในทุกรูปแบบเลยก็ได้เช่นกันครับ ถ้ามันทำแล้วสนุก ก็จัดไปเลยครับ อย่ากลัว!
ส่วนใครที่สนใจการเรียนทำเพลงออนไลน์ วันนี้เรามีคอร์ส Cover Music มาแนะนำกันครับ โดยในคอร์สนี้จะเหมาะสำหรับ ❤ คนที่สนใจเริ่มต้นในการทำ Content Cover เพลงด้วยตัวเอง ❤คนที่กำลังมองหาวิธีในการ Mix เสียงเพื่อให้งานออกมาในระดับอินเตอร์
โดยในคอร์สนี้จะสอนในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับการทำ Cover ตั้งแต่การเลือกซื้ออุปกรณ์ ไปจนถึงขั้นตอนการอัพโหลดไฟล์เพลงหรือวีดิโอเพื่อเผย แพร่บน Youtube
ราคาคอร์ส 4,990 บาท
หากสนใจข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม ทัก Inbox กันเข้ามาได้เลยนะครับ
Youtube : Tong Apollo
Instagram : classabytongapollo
Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo
TikTok : Class A by Tong Apollo
#สอนทำเพลงออนไลน์ #แต่งเสียงร้อง #classabytongapollo
Comentários