top of page

แผ่นโฟมซับเสียง ดีจริงหรือจกตา?


หากคุณอยากจะทำห้องเก็บเสียงไว้ซักห้องนั้น ถือเป็นงานที่ค่อนข้างยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่รู้หรือไม่ว่าตอนนี้ได้มีนวัตกรรมอย่างแผ่นโฟมซับเสียงที่สามารถช่วยได้ให้ง่ายขึ้นและค่าใช้จ่ายน้อยลง มันสามารถทำให้เสียงถูกดูดซับหรือสะท้อนจากผนัง เพดาน หรือพื้น ซึ่งจะช่วยลดเสียงภายในห้องซึ่งอาจไปรบกวนเพื่อนบ้านหรือเพื่อนร่วมห้องของคุณ ในปัจจุบัน แทบทุกโฮมสตูดิโอเลือกที่จะติดตั้งแผ่นโฟมซับเสียง มันดีจริงมั้ย แล้วมันดียังไง ไปทำความรู้จักกับแผ่นโฟมซับเสียงกันดีกว่า


มาทำความเข้าใจกับหลักการทำงานของแผ่นโฟมซับเสียงกันก่อน


โฟมซับเสียงใช้หลักการทางฟิสิกส์เกี่ยวกับเรื่องการกระจายเสียงโดยพลังงานเสียงจะเปลี่ยนเป็นความร้อน จริง ๆ แล้วการกระจายเสียงเกิดขึ้นตามปกติในชีวิตประจำวันของคุณอยู่แล้ว เช่น คุณลองจินตนาการถึงคลื่นเสียงที่กระดอนไปมาในกองพรมหรือผ้าม่าน เสียงจะกระทบกับผ้าทำให้เกิดแรงเสียดทาน และเป็นผลให้เปลี่ยนพลังงานเสียงและดูดซับเสียง แผ่นโฟมซับเสียงก็มีหลักการทำงานเช่นเดียวกันกับพรมและผ้าม่านที่ยกตัวอย่างไป แต่ประสิทธิภาพในการเก็บเสียงนั้นดีกว่าแน่นอน ทั้งนี้ การจะเก็บเสียงได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ ขนาดและความหนาในการเลือกใช้


หลักการฟิสิกส์ของแผ่นโฟมซับเสียง


เมื่อคลื่นเสียงกระทบกำแพง มีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ 3 ประการ:


1. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง: คลื่นเสียงจะผ่านกำแพงไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น


2.เกิดการดูดซับ: คลื่นเสียงถูกดูดซับ เช่น เกิดการผ่านการกระจายเสียงซึ่งทำให้เสียงสะท้อนกระจัดกระจายออกไปโดยรอบ (Dissipation)


3.เกิดการสะท้อน: คลื่นเสียงสะท้อนเข้ามาในห้อง ตามกฎมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน


ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่นเสียงและความยาวคลื่นที่มาสอดคล้องกัน




จากภาพข้างต้น ความยาวคลื่นจะแสดงถึง Longitude ทางกายภาพสำหรับคลื่นหนึ่งรอบ


ยิ่งความถี่ต่ำเท่าใด ความยาวคลื่นก็ยิ่งยาวขึ้นเท่านั้น


ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วความยาวคลื่นกับแผ่นโฟมซับเสียงมีความสัมพันธ์กันยังไง?

ตามหลักแล้ว หากเราต้องการวัสดุที่เก็บเสียงได้ วัสดุนั้นต้องมีความลึกอย่างน้อย 1/4 ของความยาวคลื่นของคลื่นเสียงนั้นๆ


ดังนั้น หากผนัง แผ่นโฟมซับเสียง หรือพรมมีความลึกไม่ถึง 1/4 ของความยาวคลื่น ก็จะไม่สามารถช่วยลดคลื่นเสียงใด ๆ


จะรู้ได้ยังไงว่าห้องนั้นเก็บเสียงได้จริง?

คุณลองออกมาอยู่นอกห้องเก็บเสียง คุณจะสังเกตได้ว่า เสียงที่ได้ยินจะเป็นเพียงเสียงอู้อี้ ไม่ค่อยชัด และคุณจะได้ยินเพียงบางเสียงที่มีความหนักแน่นจริง ๆ เช่น เสียงเบส เพราะว่าความถี่เสียงเบสมีความยาวคลื่นยาว ทำให้ไม่สามารถมีสิ่งใดช่วยเก็บเสียงมันได้




ทำยังไงให้ห้องเก็บเสียงได้?


อย่างที่รู้กัน คุณต้องทำให้ผนังห้องของคุณหนาและลึกมากพอที่จะกันคลื่นเสียงได้ ถึงแม้ว่าแผ่นโฟมซับเสียงจะไม่มีขนาดหนาผลิตออกมาให้เลือกซื้อ นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะคุณสามารถปูผนังแห้งด้วยการกรุแผ่นโฟมกับผนังซ้อนกัน หรือทำให้ผนังของคุณหนาขึ้นด้วยแผ่นกั้นเสียงไวนิลแบบบรรจุมวล (mlv)


แต่ยังมีอีกวิธี ซึ่งถือว่าเป็นเป็นวิธีที่ work ที่สุดในการเก็บเสียงสำหรับสร้างสตูดิโอบันทึกเสียงคือ room-in-room คุณลองจินตนาการถึงห้องที่ลอยซ้อนอยู่ในอีกห้องหนึ่งโดยมีอากาศอยู่ระหว่างผนัง หากคุณทำเช่นนี้ รับรองว่าจะไม่มีเสียงเข้าหรือออกจากห้องได้แน่นอน แต่ให้ทำแบบนั้นมันก็อาจจะเกินกำลังไปนิด แต่เรามีวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถทำมันได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ แถมยังประหยัดงบไปได้มากทีเดียว:


• ใส่ชุดซีลประตูสามารถช่วยให้เสียงรบกวนเพื่อนร่วมห้องหรือครอบครัวน้อยลง

• อัดเสียงในช่วงเวลาที่รถขับผ่านน้อยและมีเสียงรบกวนน้อย

• พยายามรบกวนเพื่อนบ้านให้น้อยที่สุด

• มีหูฟังคุณภาพสูงไว้ซักชิ้น เพื่อให้คุณทำงานได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น




ประโยชน์ของแผ่นโฟมซับเสียง


มองเผิน ๆ ดูเหมือนว่าแผ่นโฟมซับเสียงจะทำได้เพียงดูดซับเสียงเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าแผ่นโฟมซับเสียงถือเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมและขาดไม่ได้สำหรับการสร้างสภาพแวดล้อมให้ฟังได้อย่างมือโปร จริง ๆ แล้วมันสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการฟังของคุณได้อีกมากมาย


1. ช่วยลดเวลาของเสียงก้องกังวาน (Reverberation Time)

แผ่นโฟมซับเสียงสามารถช่วยดูดซับคลื่นเสียงและลดเวลาการก้องกังวานในห้องของคุณ โดยปกติแล้วค่า RT60 (Reverberation Time 60) จะอยู่ที่ 0.25-0.4 วินาทีในห้อง คุณภาพการดูดซับเสียงก้องจะเพิ่มขึ้นตามความถี่ หากแผ่นโฟมซับเสียงของคุณมีค่า α 0.6 ที่ 1kHz จะดูดซับคลื่นเสียงได้ 60% ในย่านความถี่นี้นั่นเอง


2. ช่วยแก้ไขการสะท้อนในช่วงต้น (Earlier Reflection)

Earlier Reflection คือเสียงที่ผ่านการสะท้อนจากกำแพงหรือเพดาน 1 ครั้ง โดยจะมีความดังรองจากเสียงตรง และใช้เวลารองลงมา โดยปกติแล้ว Earlier Reflection จะอยู่ในช่วง 1 มิลลิวินาทีถึง 50 มิลลิวินาที ซึ่งมันสามารถทำให้คุณอาจได้ยินเสียงใด ๆ ผิดพลาดได้


การติดโฟมซับเสียงบนผนังและเพดานของคุณสามารถช่วยกำจัดการสะท้อนของเสียงเหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว และหากคุณอยากรู้ว่าคุณต้องติดตั้งตรงไหน ให้ลองใช้กระจกแล้วลองค่อย ๆ ส่องไปที่เพดานและผนัง หากคุณมองเห็นลำโพงจากจุดที่ฟังอยู่ตรงจุดไหน ตรงนั้นแหละที่ต้องการแผ่นโฟมซับเสียงเพื่อดูดซับเสียงสะท้อนเหล่านั้น


แผ่นโฟมซับเสียง VS ดิฟฟิวเซอร์ (DIFFUSERS)


แผ่นโฟมซับเสียงมีรูปร่างและรูปแบบมากมาย ที่พบมากที่สุดคือแผงโฟมแบบ Burl หรือพีระมิด เชื่อว่าหลายคนยังสับสนระหว่าง “แผ่นโฟมซับเสียง” และ “ดิฟฟิวเซอร์”

แผ่นโฟมซับเสียง หน้าที่คือดูดซับ ส่วนตัวดิฟฟิวเซอร์ทำหน้าที่จัดการ ให้เสียงกลางเสียงแหลมฟุ้งกระจายและลดความแรงลง


จากที่กล่าวมา แผ่นโฟมซับเสียงสามารถแก้ปัญหาได้หลายอย่าง แล้วทำไมเราต้องใช้ดิฟฟิวเซอร์อีก?


สมมติว่าคุณอยู่ในห้องนอนเล็ก ๆ ที่มีวัสดุที่สามารถดูดซับจำนวนมากและองค์ประกอบด้านเสียง หรือคุณอาจมี RT60 ที่ต่ำอยู่แล้ว แต่คุณยังต้องเจอกับเสียงสะท้อน Earlier Reflection อีก นี่แหละคือสาเหตุที่ต้องใช้ดิฟฟิวเซอร์ควบคู่ไปด้วย เพราะมันจะช่วยกำจัด Earlier Reflection โดยกระจายและเพิ่มสนามเสียงที่กระจายออกไป (ไม่ได้ดูดซับเหมือนแผ่นโฟม) แล้วท้ายที่สุด เสียงในห้องของคุณจะฟังแล้วมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้นอย่างน่ามหัศจรรย์


FAQS


แผ่นโฟมซับเสียงกันเสียงได้ทั้งสองทางหรือไม่?

: แน่นอนว่าแผ่นโฟมซับเสียงสามารถป้องกันไม่ให้เสียงออกจากห้องเพราะมันช่วยดูดซับคลื่นเสียงจากภายใน แต่อาจยังกันเสียงเบสไม่ได้ผลนักเนื่องจากความถี่เสียงเบสมีความยาวคลื่นยาว ทำให้ไม่สามารถมีสิ่งใดช่วยเก็บเสียงมันได้


แผ่นโฟมซับเสียงแบบไหนดีที่สุดสำหรับการเก็บเสียง?

: แผ่นโฟมซับเสียงต่างทำมาจากวัสดุเดียวกันนั่นคือ Polyethylene และ Basotect ซึ่งมีคุณสมบัติกักเก็บเสียงได้ดีทั้งคู่


แผ่นโฟมซับเสียงจะเก็บเสียงได้ทั้งเสียงเข้าและเสียงออกมั้ย?

: หากคุณติดตั้งมันอย่างถูกต้อง จะสามารถป้องกันได้ทั้งเสียงเข้า-ออก


แผ่นโฟมซับเสียงรูปทรงใดดีที่สุด?

: ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการดูดซับของแผ่นโฟมซับเสียงสำหรับคลื่นความถี่ต่างๆ ลองศึกษาและเลือกแผ่นโฟมซับเสียงสิ่งที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่สุด



ย้ำอีกครั้ง แผ่นโฟมดูดซับเสียงกับดิฟฟิวเซอร์ คือคนละอย่างกันนะ <3



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo

Comments


bottom of page