top of page

ไข 6 ข้อสงสัย ทำไมต้องใช้ Plugin !?



หากต้องการเปรียบเทียบระหว่างปลั๊กอินกับฮาร์ดแวร์…ถือว่าเป็นประเด็นที่หลายๆคนถกเถียงและให้ข้อคิดเห็นกันค่อนข้างเยอะครับ และเหล่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆก็พยายามดึงประสิทธิภาพที่ดีที่สุดเพื่อแสดงให้เราเห็นว่าสินค้าฮาร์ดแวร์พวกนั้นยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้


แต่มันไม่เสมอไปครับ…


ผมจำความรู้สึกแรกของการทำ session ที่สตูดิโอฮาร์ดแวร์ได้ดีครับ การได้สัมผัส Console Faders นั้นน่าตื่นตาตื่นใจสุดๆ และมันถือเป็นประสบการณ์ที่เปิดหูเปิดตาผมมากๆเลยทีเดียว


แต่พอผมได้รู้จักและลองทำงานร่วมกับ digital workflow และได้มีโอกาสใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆอย่าง ‘ปลั๊กอิน’ (Plugin) ผมรู้สึกว่ามันสามารถตอบโจทย์ด้านการทำงานนอกกรอบได้ดีมากทีเดียว


และวันนี้ ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ ว่าทำไมปลั๊กอินถึงมีประสิทธิภาพดีกว่าฮาร์ดแวร์ในสตูดิโอ


เริ่มเลย!!!




1. ได้สัมผัส analog noise อย่างแท้จริง

เหล่าวิศวกรอาวุโสล้วนมีทีม ผู้ช่วยและช่างเทคนิคที่คอยช่วยให้พวกเขาทำงานได้สำเร็จลุล่วง!! Unlimited mastering & distribution, royalty-free samples มากกว่า 1200 รายการ, 30+ plugins และอีกมากมาย! มีให้เพื่อนๆได้เลือกตามใจชอบที่ LANDR Studio

สตูดิโอมืออาชีพมักจะมีงานยุ่งใช่ไหมล่ะครับ หากเกิดปัญหาใดหน่อย อย่างเช่น Single Console Channel หยุดทำงาน นั่นอาจส่งผลกระทบกับการทำงานครับ และทุกวันนี้ คอนโซลที่เพื่อนๆเห็นในสตูดิโอฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้รับการบำรุงซ่อมแซมสักเท่าไหร่ ในที่นี้ผมพูดถึงอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานมากครับ แต่ Sketchy Console (หรือ Sketchy Analog) สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ทุกชนิดมามิกซ์กันได้


ทุก analog bounce จะเป็นแบบเรียลไทม์ ต่อให้เกิดข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยแค่ไหน เพื่อนๆก็ต้องเริ่มใหม่ครับ หรือหากใช้คอนโซลที่ไม่ได้ติดตั้งระบบอัตโนมัติ (หรือระบบอัตโนมัติพัง—เฟดเดอร์ที่ลอยอยู่อาจเป้นสาเหตุทำให้บอร์ดคลาสสิคล้มเหลวได้) เพื่อนๆก็จะต้องบันทึกประสิทธิภาพการทำงานอัตโนมัติอย่างถูกต้องด้วย มันค่อนข้างยากเลยครับ!


2. ไม่ต้องปวดหัวกับการ recall


ใครที่เคย recall analog mix คงทราบกันเป็นอย่างดี รู้ไหมครับว่าการ recall นั้น ใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อรีเซ็ตปุ่มและเฟดเดอร์ทุกอัน เพื่อนๆอาจต้องใช้เวลาเกือบครึ่งวันเพียงเพื่อลดเสียง hi hat mic ลง 1.5 เดซิเบลก่อนที่จะทำการ mastering ในขั้นตอนต่อไป


จำที่ผมพูดเมื่อสักครู่ได้ไหมครับ เหล่าวิศวกรอาวุโสแทบจะไม่ต้องจำ session ของตนเองเลยเพราะมีผู้ช่วย!! ทีมเขาจะคอยดูแลงานพื้นฐานเพื่อไม่ให้ใครต้องเสียเวลาเลย แต่ในปัจจุบัน analog studio ไม่ค่อยมีอะไรแบบนั้นสักเท่าไหร่…


หากอยากเปลี่ยนแปลงมิกซ์ที่ถูก bounce เพื่อนๆจะต้องกลับไปที่ pen-and-paper session เพื่อดึงมันขึ้นมาบนคอนโซลอีกครั้ง แต่ผมขอถามกลับว่าเพื่อนๆว่าได้จดค่าต่างๆเก็บไว้บ้างไหมครับ? เห็นไหมครับว่าการ recall เป็นอะไรที่ใช้เวลานานและปวดใจที่สุด แถมมันจะไม่มีทางกู้คืนได้ครบ 100% ถึงบันทึก session ที่มีรายละเอียดสูงนั้นอาจช่วยให้เพื่อนๆกู้คืนได้มาก


แต่เพื่อนๆไม่สามารถย้อนเวลากลับไปและใช้เสียงที่เหมือนกับมิกซ์ก่อนหน้าได้อีกแล้ว… analog workflow ประเภทอื่นๆก็เช่นกัน ระวังไว้ให้ดีครับ!




3. ฮาร์ดแวร์ใช้งานยากกว่าที่คิด!!!


ฮาร์ดแวร์สตูดิโอที่มองเผินๆแล้วเป็นระเบียบสวยงาม แต่เบื้องหลังคือสายเคเบิลที่พันกันยุ่งเหยิงรุงรัง โดยเฉพาะสายแพตช์เบย์ (patchbay) แบบพิเศษซึ่งต้องใช้อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษหลายเท่า

การใส่เอาท์บอร์ดแชนแนลใน DAW และการหาจุด patch point บน patchbay อาจทำให้เพื่อนๆต้องใช้เวลาในการทำงานมากขึ้นหลายชั่วโมง ซึ่งอาจเพิ่มมากขึ้นถึงสามเท่าเลยครับถ้าเรายังใช้ฮาร์ดแวร์ บัส กับคอนโซลเก่าๆอยู่ แล้วยิ่งถ้าต้องเปลี่ยนการตั้งค่าหลังจากทำการปริ้นท์แล้วเมื่อไรล่ะก็ เพื่อนๆต้องทำการ recall อีกครั้งเชียวนะ !!!


แต่ข้อเสียเหล่านี้อาจไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น ถ้าสตูดิโอของเพื่อนมีฮาร์ดแวร์เพียงชิ้นเดียว แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว มันก็สร้างความวุ่นวายกับการทำงานอยู่ดี


4. Outboard คุณภาพดีเทียบเท่า D/A


โพรเสสของ printing hardware ค่อนข้างมีความเสี่ยงถ้าเพื่อนๆยังไม่มีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์มากพอ การ compression หรือ EQ ที่มากเกินไป (ประมาณ 2-3 dB) อาจทำให้การมิกซ์เสียงกลายเป็นฝันร้ายได้


โพรเสสของ printing hardware ค่อนข้างมีความเสี่ยงถ้าเพื่อนๆยังไม่มีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์มากพอ การ compression หรือ EQ ที่มากเกินไป (ประมาณ 2-3 dB) อาจทำให้การมิกซ์เสียงกลายเป็นฝันร้ายได้


ท้ายที่สุด เพื่อนๆสามารถเพิ่มการประมวลผลหรือโพรเสสใดๆระหว่างการมิกซ์ได้เสมอ แต่จะไม่สามารถลบมันออกไปได้หากปริ้นท์ลงบนแทร็กที่บันทึกไว้แล้ว นั่นหมายความว่า outboard gear workflows ส่วนใหญ่จะรวม AD/DA conversion แบบครบวงจรเป็น interface กับฮาร์ดแวร์


การ conversion หลายครั้งคือการที่ audio intrface นั้นเริ่มสร้างผลกระทบต่อ final product ของการมิกซ์เสียงของเพื่อนๆ แต่อย่างไรก็ตาม การ AD/DA conversion ที่ได้คุณภาพสูงนั้นแทบจะสัมผัสไม่ได้เลยแม้จะมีการส่งสัญญาณเข้าออก analog domain อยู่หลายครั้ง


แต่อินเทอร์เฟซที่มีคุณภาพน้อยลงมานั้นสามารถ coloration ที่ส่งผลให้ไดนามิกและการตอบสนองความถี่ลดลงในแต่ละขั้นตอนของการ conversion ได้


ในหลายเคส ส่วนใหญ่ปลั๊กอินดีๆจะให้เสียงที่ดีกว่าฮาร์ดแวร์คุณภาพกลางๆหลังจากขั้นตอนเพิ่มเติมของการ conversion คุณภาพต่ำ amazing มากครับ!




5. ปลั๊กอินตัวท็อปย่อมดีเสมอ!!


Digital processing นั้นอาจมีชื่อเสียงที่ไม่ค่อยดีในยุค DAW ช่วงแรกๆ


ปลั๊กอินสองสามรุ่นแรกมักประสบปัญหาเดียวกันนั่นคือมันรบกวนการบันทึก แต่ตอนนี้ปลั๊กอินได้พัฒนามาไกลมากแล้ว เพราะในปัจจุบันนี้ปลั๊กอินเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของตลาดการทำเพลง เหล่าผู้ผลิตปลั๊กอินต่างทุ่มงบประมาณมหาศาลพร้อมกับวิศวกรที่มีความสามารถเพื่อแก้ปัญหาที่เคยมี และสร้างเครื่องมือเสียงดิจิทัลที่ให้เสียงยอดเยี่ยม


แต่ก็แน่นอน ว่าปลั๊กอินไม่ได้มีคุณภาพเหมือนกันทั้งหมด เหล่ามือโปรมักจะใช้ปลั๊กอินที่คุณภาพดีๆกับ analog ซะมากกว่า ในปัจจุบัน เทคโนโลยี hardware modelling นั้นซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ นักสร้างปลั๊กอินใช้ความพยายามอย่างมากในการสร้างวงจร analog ให้ล้ำไปกว่าเดิม


ในทางกลับกัน การผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ก็มีความละเอียดมากขึ้นเช่นกัน เพราะความคลาดเคลื่อนของส่วนประกอบที่ทันสมัยมากขึ้นและขั้นตอน QA ทำให้การผลิตฮาร์ดแวร์จำเป็นต้องดีมากกว่าเมื่อก่อน ทำให้ทุกคนมีโอกาสได้ลองใช้งานกันง่ายมากขึ้น

ส่วนอุปกรณ์ไหนที่ยังผลิตเช่นเดิม นั่นแสดงว่าการสร้าง modelling นั้นละเอียดและมีประสิทธิภาพมากพอ และมั่นใจได้ว่ามันจะไม่ทำลายมิกซ์เสียงของเพื่อนๆแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตก็ยังคงพยายามพัฒนาสินค้าของพวกเขาให้ดีขึ้นต่อไป!


6. ใช้งานง่ายและสะดวกกว่าเดิม


ด้วยหลายๆปัจจัยครับที่หูฟังมอนิเตอร์ไม่ได้ถูกเซ้ทค่ามาให้เหมาะสม บวกกับวิธีเดียวที่จะทำ headphone mix ได้ก็คือการเอาไปต่อกับช่อง pre-fader บนคอนโวลที่ไม่ค่อยจะโอเคสักเท่าไร ที่ผมจะพูดก็คือคำว่า สะดวกสบาย ไม่ได้หมายความว่า เหมาะจะใช้ ครับ การที่ปลั๊กอินมีพวกส่วนเสริมพื้นฐานที่จำเป็นที่ช่วยตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้ก็ถือว่าเป็นการช่วยเราได้มากพอแล้วครับ หลายคนก็ว่ามันเป็นการทำให้คนทำเพลงขี้เกียจ แต่ก็มองกลับกันได้ว่าอุปกรณ์ดิจิทัลพวกนี้มันก็ช่วยอุดปัญหาหลายๆของเราเช่นกันครับ



สรุป


ปลั๊กอินกับฮาร์ดแวร์ แบบไหนดีกว่ากัน??


แต่ละแบบล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันไป สุดท้ายแล้ว มันก็ขึ้นอยู่กับความชอบและการตัดสินใจของเพื่อนๆเลยครับ อย่าที่ต้องคำนึงถึงจริงๆก็คือ ต้องศึกษาข้อมูลการใช้งานและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงให้ดี เพื่อให้สิ่งที่เราซื้อมานั้นได้ใช้ประโยชน์สูงสุด !!!



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo

Comments


bottom of page