top of page

6 สิ่งที่ต้องทำก่อนที่เราจะ pre-master !!!



การ Mastering ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการผลิตเพลง จะเกิดเมื่อคุณส่งออก final mix จาก DAW เพื่อทำการ mastering แต่สงสัยกันไหมครับว่า pre-mastering คืออะไรกันแน่? แล้วเราควรต้องทำยังไงถึงจะถูกต้อง? วันนี้ผมจะอธิบายทุกสิ่งเกี่ยวกับการ pre-mastering ให้ฟังครับ


Pre-mastering คืออะไร?


Pre-mastering

หมายถึงขั้นตอนใดๆที่คุณทำเมื่อสิ้นสุดกระบวนการมิกซ์และเตรียมเตรียมมาสเตอร์นั่นเอง


pre-mastering คือไฟล์ที่มีคุณภาพพร้อมสำหรับขั้นตอนต่อไป นั่นคือการมาสเตอร์


pre-mastering มักจะถูกส่งไปยังค่ายเพลงเพื่อตรวจเช็คว่าพร้อมจะทำ final stage หรือไม่ โดยจะมี master engineer เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบหน้าที่นี้


และสำหรับเพลงสมัยนี้ จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการพรีมาสเตอร์เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์แบบแล้วจริงๆ และผมมี 6 ขั้นตอนง่ายๆในการ pre-mastering มาฝากครับ




1. ลอง reference


หากถามว่าเราจะมิกซ์เสียงเสร็จจริงๆตอนไหน? เป็นอะไรที่ตอบยากจริงๆครับ

แต่เดี๋ยวนี้มีเวิร์กโฟลว์ DAW ที่ทันสมัยทำให้สามารถปรับแต่งโปรเจ็กต์ได้ง่ายตลอดการทำงาน และ mix referencing ก็เป็นวิธีที่ดีเลยทีเดียว คุณลองใช้เพลงโปรด หรือมิกซ์อื่นที่คุณเคยทำไว้มา ทำการ reference ดูก็ได้ครับ จากนั้นจดสิ่งที่แตกต่างและปรับเปลี่ยนไปแต่ละครั้ง การทำเช่นนี้ จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่างานคุณกำลังก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่อยู่กับที่!! จากนั้น คุณก็จะสามารถดำเนินการขั้นตอนต่อไปได้อย่างมั่นใจครับ


2. เหลือพื้นที่ไว้ pre-master บ้าง


กระบวนการมาสเตอร์นั้นต้องการพื้นที่เหลือในไฟล์เสียงของคุณเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง นั่นหมายความว่าถ้าคุณมีพื้นที่หรือ headroom เหลือเพียงพอ จะทำให้การ pre-mastering ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เคล็ดลับคือการ gain staging โดยจับตาดูระดับตลอดกระบวนการผลิตของคุณ เพื่อไม่ให้สัญญาณไปกองรวมกันที่ master bus จนทำให้เกิดเสียงขาดตอน


ดังนั้น ผมแนะนำให้คุณตั้งเป้าตั้งแต่แรกว่าจะเหลือพื้นที่เท่าใด ควรตั้งให้จุดสูงสุดของรูปคลื่นเสียงอยู่ที่ประมาณ -9 dBFS โดยที่เนื้อเสียงจะอยู่ที่ประมาณ -18 dBFS




3. ระวัง master bus ให้ดี


เอฟเฟ็กต์และขั้นตอนการทำงานที่คุณใช้กับ master bus มีความสำคัญกับ pre-mastering อย่างมาก เพราะมันจะส่งผลต่อการมิกซ์เสียงทั้งหมด จึงง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงเสียงอย่างรวดเร็ว หลายคนจึงบอกว่า master bus เป็นกระบวนการทำงานที่เสี่ยงและอันตรายมาก


ผมแนะนำให้หลีกเลี่ยงการ master bus ที่อาจส่งผลกระทบต่อ headroom และ dynamic range ของไฟล์บอนซ์ รวมถึงการ compression จำนวนมากด้วยเช่นกัน


ไม่ผิดครับที่จะสร้างสรรค์ผลงานด้วยการ EQ saturation หรือกระบวนการใดก็ตาม เพราะมันช่วยบาลานซ์โทนเสียงและคาแรคเตอร์ของมิกซ์เสียงได้ การ compression เพียงเล็กน้อยก็ยังทำได้ครับ เพียงแต่อย่าลืมระวังเรื่อง dynamic range ก่อนที่เราจะทำการ mastering ด้วย !!


4. ตรวจสอบการแก้ไขเสียงให้แน่ใจ!

หนึ่งในเอฟเฟกต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการมาสเตอร์คือการทำให้เสียงเพลงของคุณดังพอที่จะปล่อยสตรีม ดังนั้น รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ จะได้ยินชัดขึ้นตามครับ ไม่ว่าจะเสียงคลิก เสียงป๊อป หรือพลาดการตัดต่อที่ไม่ดี หรืออาจมีแม้แต่เสียงพูดเล็ดลอดไปด้วย ต้องหามันให้เจอก่อนที่เราจะทำการ mastering มิเช่นนั้น final product คุณมีเปอร์เซ็นต์เกิดปัญหาสูงมากครับ ดังนั้น คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่างานคุณตัดต่อแก้ไขละเอียดแล้วจริงๆ




5. Bounce ไฟล์ที่คุณภาพสูง


คุณภาพไฟล์เสียงสามารถสร้างความแตกต่างในการ pre-mastering ได้

sample rate และ bit depth ที่คุณเลือกจะเป็นตัวกำหนดว่าแทร็กของคุณสามารถสตรีมแบบไม่สูญเสียความละเอียดสูงได้หรือไม่ แต่โดยทั่วไปแล้ว ไฟล์ความละเอียดสูงจะช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงในโปรเจกต์ของคุณ ดังนั้นอย่าลืมรักษาคุณภาพเสียงตั้งแต่เปิดเซสชัน DAW ใหม่และส่งออกแทร็กที่เสร็จแล้ว


แนะนำให้เลือกประเภทไฟล์คุณภาพสูงและส่งออกมิกซ์ของคุณในรูปแบบเดียวกันเท่านั้น ยิ่งความละเอียดสูงเท่าไหร่ยิ่งดีมากเท่านั้น ส่วนใหญ่เหล่าโปรดิวเซอร์จะใช้อยู่ที่ 24 บิต 48 kHz ซึ่งเป็นการบาลานซ์ที่ดีระหว่างคุณภาพเสียงและขนาดไฟล์ แต่ถ้าคุณคิดว่า sample rate ที่สูงขึ้นนั้นฟังดูดีกว่าสำหรับคุณ ก็จัดไปเลย!


6. สูดลมหายใจเข้าลึกๆ…


การทำเพลงแต่ละเพลงนั้นต้องใช้ความพยายามอย่างมาก กว่าจะได้แต่ละไอเดีย ขั้นตอน ตลอดจนผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ ไม่รู้ต้องถอนหายใจทิ้งไปกี่เฮือก แต่ผมขอให้ทุกคนอดทนไว้ครับ แล้วคุณจะรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานของคุณมากถ้าคุณได้มาย้อนมองกลับไป


แต่ละคนล้วนเจออุปสรรคไม่เท่ากัน บางคนก็ราบรื่นไม่ติดขัดซักนิด แต่ท่องไว้ครับ ว่าทุกอุปสรรคจะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นเสมอ


จากที่ได้ฟังกันไปทั้งหมดเกี่ยวกับการ pre-master สิ่งสำคัญที่สุดคงเป็นการเตรียมแท็กเสียงก่อนเพื่อเตรียม mastering หลังจากที่มิกซ์เสียงเสร็จ หมั่นฝึกฝนสมาพเสมอเพื่อให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพมากที่สุด สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนทุกคนนะครับ ^^


และใครที่อยากรู้ และสนใจในขั้นตอนการ MIX & MASTERING เพลงด้วยเทคนิคต่างๆ สามารถมาลงคอร์ส MIX & MASTERING ได้เลยครับ หากสนใจสามารถ Inbox สอบถามเข้ามาได้เลย



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo


Commentaires


bottom of page