top of page
Writer's pictureADMIN JAA

7 สิ่งที่ต้องทำในการ Mastering



การ mastering เสียงนั้นถือเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนในการทำเพลงเลยล่ะครับ มีกระบวนการมากมายที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเสียงของคุณ ปกติแล้วการ mastering นั้นจะต้องอาศัยโปรเซสเซอร์ รวมถึงวิศวกรผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงอีกด้วย ตอนนี้ AI ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะซอฟต์แวร์ชั้นนำอย่าง LANDR ก็ได้ใช้ความรู้ทางด้าน AI เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานแล้วครับ วันนี้ ผมจะอธิบายให้เพื่อนๆได้ฟังครับว่าขั้นตอนของ การ Master มีอะไรบ้าง เริ่มกันเลยครับ…




1. Pre-mastering


อย่างที่เราทราบกันว่า mastering เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่เราจะต้องทำในการผลิตผลงานเพลงก่อนที่จะเผยแพร่/จำหน่าย นั่นแสดงว่า นี่คือโอกาสสุดท้ายในการแก้ไขข้อผิดพลาดใดๆที่อาจเล็ดลอดมาจากการมิกซ์เพลงก่อนหน้านี้ ดังนั้น เราต้องมีการเตรียมตัวก่อน mastering กันก่อนครับ

ถ้าผลงานของเพื่อนๆมีตำหนิหรือไม่ค่อยเรียบร้อย อย่างเช่น มีเสียงคลิก/เสียงป๊อป/ เสียงรบกวนต่างๆ mastering engineer ช่วยคุณได้!! พวกเขาสามารถทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้… แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อนๆควรจะทำให้งานสมบูรณ์เรียบร้อยที่สุดก่อนเสมอ เพื่อให้ mastering engineer เปลี่ยนแปลงระดับของไฟล์หรือใช้ระบบออโต้เพื่อบาลานซ์เซคชั่นงานต่างๆ

อีกอย่างที่สำคัญสำหรับการ pre-mastering คือการทำให้งานคุณยังมีเฮดรูมและไดนามิกที่เหมาะสม อย่าลืมเผื่อที่ว่างไว้ด้วยนะครับ…^^


2. Mastering EQ


เมื่อพูดถึง EQ เป้าหมายของเราก็คือการ mastering เพื่อแก้ไขทุกปัญหา/ข้อผิดพลาดที่เด่นออกมาอย่างชัดเจนให้ละเอียดที่สุด โดยทั่วไปแล้ว mastering engineer จะทำการ equalization ที่จุดสำคัญๆในช่วงสัญญาณต่างๆ ตัวอย่างเช่น เพิ่ม high-pass filter เพื่อป้องกันไม่ให้ความถี่ที่ต่ำมากมารบกวนลำโพงของผู้ฟัง ทั้งนี้ high-pass filter ยังสามารถป้องกันเสียงต่ำที่มากเกินไปจากการใช้ triggering dynamics เช่น compression และ limiting


EQ ยังถูกใช้เพื่อสร้างความบาลานซ์ของความถี่มิกซ์ ตลอดจนใช้เพื่อปรับแต่งค่าอื่นๆได้อีกด้วย


3. Mastering compression


compression เป็นเครื่องมือหลักที่เหล่าวิศวกรใช้เพื่อควบคุมไดนามิกของมิกซืเสียง

Dynamic range หมายถึงความแตกต่างระหว่างช่วงเสียงที่ดังที่สุดและเงียบที่สุดในสัญญาณ ดังนั้น การ mastering compression ที่ดีนั้น ผู้เชี่ยวชาญจะต้องบาลานซ์เฮดรูม ความดังเสียง ไดนามิก และทรานเซียนท์ให้ได้ และแน่นอนว่า compression สามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ อีกทั้งยังทำให้มิกซืเสียงดีขึ้นด้วย ไม่ว่าจะในเรื่อง punch, definition และ control


Mastering engineer หลายคนเลือกที่จะทำ multiband compression แทนการมิกซ์แบบเดิมๆ เพื่อการควบคุมไดนามิกที่แม่นยำยิ่งขึ้น การ compression เช่นนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันสำหรับย่านความถี่ต่างๆ ทำให้วิศวกรสามารถจับรายละเอียดแต่ละช่วงได้แม่นยำ


4. Mastering limiters


Limiter เป็น compressor ที่มีอัตราส่วนที่สูงมาก โดยทั่วไปคือ ∞:1 นั่นหมายความว่าจะไม่สามารถมีสัญญาณเกินระดับที่กำหนดได้ หน่วยวัดคือ dB


เราจะใช้ Limiter เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดการ clipping ในไฟล์เสียงที่เสร็จแล้ว อีกทั้งยังใช้เพื่อเพิ่มระดับมิกซ์ให้มีปริมาณที่เหมาะสมในการเผยแพร่ โดยจะตั้งค่าเพดานสำหรับเสียงที่ดังที่สุดในมิกซ์ ทั้งนี้วิศวกรสามารถเพิ่มส่วน quieter part ของมิกซ์ได้จนกว่าจะได้ช่วงไดนามิกที่เหมาะสม





5. Stereo enhancement


การมีสเตอริโออิมเมจที่ดีนั้นจำเป็นสำหรับเหล่า mastering engineer และจะต้องใช้เทคนิคหลายอย่างในการ mastering เพื่อเพิ่มคุณภาพของมิกซ์เสียง


โดย range เหล่านี้มีตั้งแต่การขยายเสียงสเตอริโอเล็กๆไปจนถึงการควบคุมข้อมูลสเตอริโอในความถี่ต่ำ

ตอนนี้โลกเราได้มีนวัตกรรม AI-driven mastering engine ที่สามารถฟังเพลงของคุณและส่งมอบเพลงคุณภาพระดับสตูดิโอแล้ว mastering ได้ง่ายขึ้นสุดๆ


Stereo processing ในขั้นตอน mastering นั้นจะละเอียดกว่าการขยายสเตอริโอในการมิกซ์ แต่ความจริงแล้ว เราก็ไม่ค่อยพบเจอการขยายสเตอริโอหรือเอฟเฟกต์อะไรพวกนั้นหรอกครับ


5. Consoles, meters, monitors, etc


ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าเทคนิค/ขั้นตอนการ mastering วิศวกรของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน นอกจาก 5 สิ่งที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว คุณอาจจะเห็นพวกเขาทำบางอย่างเพิ่มเติม นั่นคือการสร้างคอนโซลพิเศษ ใช้ฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม รวมถึง 2-track tape machine


high-end mastering studio มักจะใช้ outboard gear แพงๆ มีเครื่องมือมาสเตอร์ซอฟต์แวร์มากมายที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับงานนี้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกที่ต้องมี เหมือนกันนั่นก็คือ monitor speaker เพื่อปรับสภาพเสียง acoustic นั่นเอง เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานกับเสียงก็คือสภาพแวดล้อม เราจะต้องอยู่ในที่ๆฟังเสียงได้ดีที่สุด


6. Dither


การ mastering นั้นหมายถึงทุกอย่างในการเตรียมไฟล์เสียงก่อนที่จะทำการปล่อยเพลง สำหรับรูปแบบดิจิทัลอย่างซีดีหรือสตรีมมิ่งนั้น จะมีขั้นตอนเพิ่มเติมที่เรียกว่า dither


Dithering หมายถึง การนำ noise มาแปลงเป็นสัญญาณระดับที่ต่ำมากซึ่งอยู่ต่ำกว่า audible range เพื่อปรับให้ sample rate และ bit depth มีความแม่นยำมากขึ้น โดยเราจะทำการ Dithering ก่อนส่งออกไฟล์เสียงของเรา นั่นหมายความว่าขั้นตอนนี้คือขั้นตอนสุดท้ายในการผลิตงานเสียงของเราครับ…




เป็นยังไงกันบ้างครับ พอถึงตอนนี้เพื่อนๆคงทราบกันแล้วว่าการที่เราจะ mastering นั้นต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การ mastering ก็คล้ายๆกับ mixing แหละครับเพียงแต่บทบาทในการทำงานแต่ละขั้นตอนจะต่างกัน แต่พึงนึกไว้เสมอ ไม่ว่าคุณจะจ้าง mastering engineer หรือใช้ mastering AI อย่าง LANDR ยังไงคุณก็ต้องมีความรู้พื้นฐาน เพราะมันคือสิ่งสำคัญเพื่อให้คุณได้ผลงานเพลงที่ดีที่สุด…

และหากต้องการเทคนิคเพิ่มเติมของการ Mix & Mastering สามารถมาเจอกันได้ในคอร์สของเรา

ในราคาเพียง 4,990 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทาง Inbox ได้เลยนะครับ



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo

Comments


bottom of page