top of page

AI The Beatles




The Beatles ปล่อยเพลงได้ยังไง ในวันที่ John Lennon ไม่อยู่แล้ว


ช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อนๆที่เป็นสาวกของ 4เต่าทอง The Beatles คงได้ยิน ได้ฟังเพลงที่เปิดตัวใหม่กันไปแล้ว นั่นคือเพลง Now And Then ซึ่งมีเสียงอดีตนักร้องของ The Beatles อย่าง John Lennon อยู่ด้วย ว่าแต่พวกเขาทำได้ยังไง ในเมื่อ John Lennon นักร้องผู้โด่งดังเสียงชีวิตไปตั้งแต่ปี 1980 แล้ววง The Beatles ที่แตกไปกว่า 50ปี แต่มีผลงานออกมาได้ เราจะมาไขข้อข้องใจ ว่ามี AI ตัวไหนที่ช่วยให้เกิดเพลงนี้ขึ้นมา


ก่อนอื่นเราต้องย้อนกลับไปก่อนนะครับว่า ก่อนที่เพลง Now And Then จะออก ก็มีเพลงอื่นๆด้วยที่ปล่อยในนาม The Beatles และมีเสียงร้องของ John Lennon หลังเสียชีวิตเหมือนกัน เช่นเพลง Free as a bird (ในปี 1995) , Real Love (ในปี 1996) ซึ่งเป็นเพลง Demo ที่ John แต่งไว้ก่อนเสียชีวิต และทางภรรยาของเขาก็เห็นว่ามีอยู่3เพลงที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นเพลงเต็มๆได้ จึงส่งให้วงไปทำต่อ แต่ติดปัญหาอย่างนึงคือ เพลง Now And Then มีเสียงของ John Lennon ที่เล่นพร้อมกับเปียโน ทำให้คุณภาพเสียงนั้นแย่มากๆ และไม่สามารถนำไปทำต่อได้ ซึ่งนี่ก็เป็นผลลัพธิ์ของเทคโนโลยีและความยากลำบากอย่างนึงของยุคนั้นเลยนะครับ ทำให้โปรเจ็คเพลงนี้ต้องยกเลิกไป


ปัญหาของโปรเจ็คนี้ติดอยู่ตรงที่ จะแยกเสียงร้อง ออกจากดนตรีอย่างไร ซึ่งในตอนนั้นทำไม่ได้เลย แต่ปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีที่พัฒนาและเติมโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ AI ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ คอยช่วยเหลือเราอยู่ตลอดไม่ว่าจะให้หาไอเดีย , ช่วยหาคำตอบสิ่งที่อยากรู้ , เปลี่ยนไอเดียของเราให้เกิดขี้นจริงหรือแม้แต่ให้ AI ไป Gen เสียงร้องจากศิลปินดังๆขึ้นมาก็ทำได้นะครับ ซึ่งการ Generative เสียงร้องจาก AI เป็นเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า Deep Learning นะครับ เป็นการนำเสียงร้อง คำพูด หรือบทสัมภาษณ์ ไปให้ AI ฟังหลายร้อย หลายพันชั่วโมง และมันจะจำโทนเสียง คลื่นความถี่ และจังหวะในการพูดหรือร้องเพลง เพื่อจำลองเสียงออกมา จึงเกิดเป็นคำถามว่า เพลง Now And Then ใช้ AI จำลองเสียงของ John Lennon หรือเปล่า ซึ่ง AI Gen เสียงร้องมันทำได้นะแต่มันก็ไม่ใช่นะครับ พวกเขาอยากได้เสียงของ John จริงๆ จึงหันไปใช้ AI ตัวนึงที่ทำหน้าที่ตรวจจับเสียงคน กับ เสียงอื่นๆให้แยกออกจากกัน นั่นคือ MAL(Machine Assisted Learning) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในสารคดี เพื่อแยกเสียงการสนทนาที่ซ่อนอยู่ในเทปนั่นเอง ซึ่งเป็นอะไรที่ยุค90 ทำไม่ได้ แต่ตอนนี้มันเป็นเรื่องง่ายๆ จนได้เพลงนี้ออกมานั่นเอง


พูดถึงการแยกเสียงร้องออกจากเสียงอื่นๆ เราก็มีโปรแกรมหรือเว็บไซต์มาแนะนำนะครับ เผื่อเพื่อนๆอย่างจะลองใช้ แยกเสียงร้องออกจากดนตรี เอาเสียงร้องของเพลงนึง ไปผสมกับดนตรีของอีกเพลงนึงอะไรแบบนี้ งั้นเรามาดูกันว่า มีตัวไหนบ้างที่ช่วยในเรื่องนี้ได้


1 AudioDirector 365 จาก Cyberlink (Web)

เป็นเว็บไซต์ครบวงจรในการจัดการด้านเสียง มีทั้งใส่เอฟเฟครีเวิร์บ , ตัด Noise , ลดเสียงน้ำลายรวมไปถึงการแยกเสียงร้องออกจากดนตรีด้วย ซึ่งมันก็ไม่ฟรีนะครับ ราคาแบบ Life-Time อยู่ที่ $89.99(31XX฿) และรายเดือน เริ่มต้นที่ $19.99(7XX฿)


2 iZotope RX (Software)

ถ้าพูดถึง AI เกี่ยวกับเสียง ไม่มี iZotope คงไม่ได้ ยิ่ง RX ด้วยแล้ว ต้องพูดถึงเลย เพราะมันเกิดมาเพื่อมาเป็น Audio Edit & Restore ของจริง มีฟังก์ชั่นปรับแต่ง ดัดแปรงเสียง ที่ใช้งานได้จริง และพัฒนาอยู่ตลอด โดยตัวที่สามารถตัดเสียงร้องออกจากเพลงได้คือ Music Rebalance จะเป็นตัว Standard ขึ้นไป ราคาจะอยู่ที่ $399 (14XXX฿) แต่ค่ายนี้ลดราคาบ่อย บางทีก็ลดถึง50%เลย


3 FL Studio (DAW)

ตัวนี้เป็นโปรแกรมทำเพลงที่ยอดนิยมสุดๆตัวนึง ซึ่งในเวอร์ชั่น 21.2 ก็ได้มีฟีเจอร์ Stem Separation ที่สามารถแยกเสียงร้อง กลอง เบส และเครื่องดนตรีออกจากกันได้อย่างแนบเนียน และก็ตอบโจทย์มากๆสำหรับคนที่อยากแยกเสียงร้องเพื่อเอาไปทำต่อ เพราะมันเป็นโปรแกรมทำเพลง ซึ่งฟีเจอร์นี้ก็สามารถใช้ได้ใน Producer Edition ขึ้นไปนะครับ ราคาจะอยู่ที่ $199(7XXX฿)


4 Vocal Remover (Web Free)

เว็บไซต์ที่น่าสนใจเว็บนึงเลย เพราะมันจะใช้ AI แยกเสียงให้เรา เพียงแค่เรามีไฟล์ของเพลงนั้นๆ แต่การที่เป็นเว็บฟรีก็จะมีข้อจำกัดอยู่นะ ในเรื่องคุณภาพเสียงที่ได้อาจจะไม่ดีนัก และอีกอย่างมันแยกได้แค่ เสียงร้องกับเครื่องดนตรีเท่านั้น ไม่สามารถแยกเป็น กลอง เบส คอร์ดได้ แต่ก็มีข้อดีอยู่ด้วย นั่นคือมันจะบอกว่าเพลงของเราอยู่ในคีย์อะไร มีความเร็วกี่ Bpm นั่นเอง

bottom of page