top of page
Writer's pictureADMIN JAA

Call and Response | เพลงแจ๊สสุดเก่าแก่ที่คุณอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน !!!



การที่เราจะแต่งเพลงๆนึงได้ อาจต้องอาศัยไอเดีย แรงบันดาลใจ หรืออะไรหลายๆอย่าง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราก็สามารถแต่งเพลงได้จากสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันเราได้เลยครับ และแน่นอนว่าวันนี้ผมจะพาทุกคนมารู้จักกับแนวเพลง call and response ซึ่งเป็นเทคนิคการทำเมโลดี้ที่สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างแนวคิดและเพิ่มความน่าสนใจให้กับการแต่งเพลงของเพื่อนๆได้ งั้นเรามาเริ่มกันเลยครับ


Call and response คืออะไร?


Call and response เป็นแพทเทิร์นเพลงที่ประกอบด้วย 'ประโยค' และ 'คำตอบของประโยคก่อนหน้านั้น' จะมีการโต้ตอบกันไปมา ถือว่าเป็นแนวคิดที่แหวกมากในการแต่งเพลงเลยครับ เพราะมันเหมือนกับการเลียนแบบการสื่อสารของมนุษย์จริงๆ อีกทั้งยังสามารถใช้ได้กับรูปแบบดนตรีเกือบทุกชนิดไม่ใช่เพียงแค่กับเพลงแจ๊ส แต่โดยทั่วไปแล้วจะได้ยินในรูปแบบเมโลดี้ไลน์ครับ ในบางครั้ง เราจะใช้ call and response เพื่อให้เครื่องดนตรีหรือเมโลดี้มีคาแรคเตอร์เช่นเดียวกับในเนื้อเพลงซึ่งแบบนี้แหละครับที่มันมักจะติดหูคนฟังได้ง่ายๆ


เพลง Call and response หน้าตาเป็นยังไง?


Call and response มักจะมี melody part อยู่ 2 ช่วงดังที่กล่าวไป เราจะเรียกสองช่วงนี้ว่า statement กับ answer เราสามารถเปิดด้วย statement และตามด้วย answer ตามปกติหรือจะตอบแบบขัดแย้งตรงข้ามก็ได้


จะใช้ call and response ยังไงได้บ้าง?


เพื่อนๆสามารถใช้เทคนิค call and response ได้หลายวิธีเลยครับ:




1. เสียงร้องนำและเสียงประสาน

เราสามารถใช้ call and response ได้ทั้งเสียงร้องหลักและเสียงร้องประสาน เสียงประสานจะช่วยเน้นและซัพพอร์ตนักร้องนำและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเมโลดี้หลักเช่นกัน การทำแบบนี้จะทำให้เพลงมีความเป็นธรรมชาติ ให้ควมรู้สึกเหมือนกำลังฟังคนสนทนากัน




2. ให้เนื้อเพลงขัดแย้งกัน


การที่ท่อนฮุคของเพลงไม่อยู่ใน vocal line ไม่ได้หมายความว่าเพื่อนๆไม่สามารถใช้ call and response นะครับ ที่จริงแล้ว การสร้างเมโลดี้ให้ขัดแย้งกันนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ดีอย่างหนึ่งในการเขียนท่อนฮุกเพลงให้ติดหู เมื่อฟังแล้วมักจะให้ความรู้สึกเหมือนมี 'ยกสอง’ ของเพลงตามมาอย่างธรรมชาติ




3. ไลน์เสียงที่เหมือนกันในเสียงดนตรีที่ต่างกัน


call and response ไม่ได้มีโครงสร้างแบบตายตัว แน่นอนว่าเครื่องดนตรีทุกๆชิ้นล้วนให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน แม้ว่าเราจะมีโมโลดี้ไลน์ที่คล้ายๆกันก็ตาม แต่ผมว่ามันน่าสนใจมากกับการที่เราจะได้เห็นหลายๆมุมมองใน octave register หรือเสียงเครื่องดนตรีที่ต่างกันออกไปครับ




4. Trading fours


มีวิธีหนึ่งในการใช้ call and response ในตอนที่เราด้นสดนั่นคือการ Trading fours ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งของดนตรีแจ๊ส โดยศิลปินเดี่ยวจะร้องแต่งเพลงแบบด้นสดสั้นๆ มักจะใช้ท่อนละสี่บาร์ และสร้างไลน์ที่ตัดหรือเสริมกันเพื่อให้เหมือนกับการ call and response ระหว่างสมาชิกในวง



call and response ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดที่เรายังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สิ่งนี้ทำให้เราเห็นได้ว่าการสนทนาของมนุษย์สามารถนำมาประยุกต์เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการแต่งเพลงได้ !! คราวนี้เพื่อนๆก็คงได้รู้จักกับการ call and response กันแล้ว ลองนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กับการแต่งเพลงของคุณได้นะครับ ^^


นอกจากนี้หากใครที่สนใจ Preset ที่จะช่วยให้ผลงานคุณยกระดับอย่างมืออาชีพง่ายๆแค่คลิ๊ก ก็สามารถใช้ TONG APOLLO PRESET ได้เลย รายละเอียดเพิ่มเติมทัก Inbox ของเราเข้ามาได้เลยนะครับ




Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo

Comentarios


bottom of page