top of page

Headphone Amplifier คืออะไร ทำไมของมันต้องมี!?





เชื่อว่ามีคนไม่มากก็น้อยที่ยังไม่รู้ว่า Headphone Amp หรือที่เราเรียกกันว่าแอมป์หูฟังนั้นคืออะไร เพราะส่วนใหญ่พวกเราก็รู้จักกันแค่หูฟังที่ใช้กับสมาร์ทโฟนและเครื่องเล่น MP3 และถึงแม้ว่าเราจะเคยเห็นหูฟังใหญ่ๆที่ใช้กันในสตูดิโอ นั่นยังเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ Consumer-level เท่านั้นครับ จริงๆแล้วยังมีอะไรมากกว่านั้น…


ในช่วงที่ผ่านมา Audiophile หรือที่กลุ่มคนที่อินเรื่องความถูกต้องของเสียงจนเข้าเส้นนั้น ชอบให้ข้อมูลผิดๆแถมยังโน้มน้าวหลอกให้คนซื้อแอมป์หูฟังราคาสูงถึง 20,000 ดอลลาร์หรือคิดเป็นเงินไทยจำนวน 695,380 บาท!! ทั้งๆที่จริงๆแล้วราคาแค่ 200 ดอลลาร์หรือราวๆ 7 พันบาทก็ใช้งานได้แล้วครับ เพราะความจริงแล้วแอมป์ที่มีราคาสูงกว่าหูฟังของคุณมากถึง 20 - 50 เท่านั้น ไม่ได้ช่วยเพิ่มคุณภาพของเสียงให้สูงขึ้นเลยซักนิดครับ แต่ความจริงแล้วคือมันอาจช่วยให้หูฟังของคุณทำงานได้ดีที่สุด และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพชุดหูฟังได้หลายเท่าตัว


เอาตามตรงเลย หูฟังหลายประเภทที่ใช้งานเองได้โดยไม่ต้องพึ่งแอมพลิฟายเออร์หรือแอมป์ครับ แต่เสียงที่เราได้นั้นอาจจะมีความดังที่ได้กระหึ่มมากมาย กลับกันสำหรับในอุตสาหกรรมดนตรีระดับมืออาชีพ แอมป์หูฟังนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยครับ วันนี้ผมเลยจะมาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกับครับว่าทำไมมันถึงจำเป็นขนาดนั้น สุดท้ายแล้วเราต้องการมันจริงๆไหม? ไปชมกันเลยครับ


Headphone Amps คืออะไร?


Headphone Amps หรือแอมป์หูฟัง เป็นเพียงอุปกรณ์ที่ส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังหูฟัง ในยุคปัจจุบันมีขนาดเล็ก พกพาง่าย และราคาไม่แพง จริงๆแล้วแอมป์หูฟังนั้นอยู่ในชีวิตประจำวันเราอยู่แล้วครับ นับตั้งแต่ iPhone ไปจนถึงโทรทัศน์ รวมถึงเครื่องเสียงรถยนต์ของเพื่อนๆ รวมถึงแอมป์ขนาดมหึมาที่คอยจ่ายไฟให้กับลำโพงในที่กลางแจ้งอย่างสนามกีฬาหรือคอนเสิร์ต


ทำไมเราต้องใช้ Headphone Amps?


ส่วนัตวเพื่อนๆคิดว่าเพราะอะไรกันครับ? ถ้าพูดง่ายๆก็เพราะว่าหน้าที่ของแอมพลิฟายเออร์คือการจ่ายไฟจำนวนมหาศาลเพื่อให้ Woofer ขนาดใหญ่นั้นทำงานได้ในตอนที่เปิดเสียงดังๆ


ยิ่ง Woofer หรือ Speaker Cone (ดอกลำโพง) ใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องจ่ายไฟมากขึ้นเท่านั้น ส่วนในการดันเสียงลำโพงตัวใหญ่เป้งๆให้ระดับ 10 ได้นั้นจะใช้แรงดันไฟฟ้า (โวลต์) มากกว่าตัวที่เล็กกว่าในระดับเสียงที่เท่ากัน


Earbuds ที่เราใช้กันในปัจจุบันนั้นมีขนาดเล็ก จึงใช้ไฟน้อยมากในการขับเสียง โดยแบตเตอรี่ลิเธียมเพียงก้อนเดียวในโทรศัพท์ของเราก็สามารถจ่ายไฟ ให้กับ Earbud เราได้มากถึง 10 ชั่วโมงติดต่อกัน แถมยังสามารถเล่นแอปอื่นได้อีกด้วย


แล้วสงสัยกันไหมครับว่าทำไมเราสามารถใช้หูฟังแบบครอบหูขนาดใหญ่กับเครื่องเล่นซีดี/เครื่องเล่น MP3 ได้ นั่นก็เพราะว่าหูฟังขนาดใหญ่สามารถเล่นในระดับเสียงที่ไม่สูงมากได้ด้วยแอมป์ขนาดเล็กในปัจจุบัน แต่หากเพื่อนๆเปิดดังขึ้น เสียงมันจะเริ่มบิดเบือนเพี้ยน(Distort)ได้หากเปิดในระดับเสียงสูงสุดแต่มีพลังงานไม่เพียงพอ แต่คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยสังเกตและไม่มีหูฟังสตูดิโอเลยไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเสียงมันควรเป็นอย่างไร


สรุปแล้วของมันต้องมีจริงไหม?


มีสามสิ่งที่เป็น "สาเหตุของปัญหา" และจะเป็นตัวตอบได้ว่าทำไมเราต้องใช้แอมป์หูฟัง:


1. ขนาด

2. ระดับเสียง

3. ความต้านทาน


ถ้าเราแบ่งขนาดสำหรับ Headphone Amps ตามประเภทนั้นจะมีอยู่สามขนาดหลักๆคือ Portable ใช้สำหรับพกพา ด้วยขนาดที่ไม่ได้ใหญ่มากนักจึงเหมาะกับเอาไว้ฟังเพลงจากมือถือ, Desktop จะใหญ่ขึ้นมาหน่อย ด้วยช่อง I/O ที่มีเยอะขึ้นมาในระดับนึง ตัวขนาดตั้งโต๊ะนี้จะเริ่มถูกใช้สำหรับสตูดิโอแล้ว และตัวสุดท้ายใหญ่เบิ้มไปเลยกับเจ้า Rackmount ตัวนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อเอาไว้ยึดไว้แขวนเข้าตามราง

ค่าความต้านทานถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเลยครับ ซึ่งหูฟังสตูดิโอที่ดีที่สุดในโลกอาจให้เสียงได้ถึง 70 เดซิเบลที่ใช้กับ Walkman ในขณะที่เอียร์บัดที่ใช้กันในยิมราคาราวๆ 3 ร้อยกว่าบาทก็สามารถให้เสียงที่ยอดเยี่ยมได้เช่นกัน แต่ลองดูก่อนครับว่าเสียงจากอุปกรณ์ใดดีกว่ากัน หากเราเร่งเสียงไปที่ 80-90 dB ในจุดที่มีแรงดันไฟฟ้าเพียงพอสำหรับความต้านทานนั้นๆ


ปัญหาอย่างหนึ่งคือคุณภาพในทุกๆระดับเสียง ไม่ใช่แค่ระดับเสียงสูงๆเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อเราพูดถึงคุณภาพของเสียงแล้วนั้น นั่นก็คือเราต้องมองที่ประสิทธิภาพในทุกย่านความถี่ แอมป์ขนาดเล็กในปัจจุบันอาจจ่ายไฟให้กับหูฟังขนาดใหญ่ได้ดีในช่วงเสียงสูงและเสียงกลาง แต่จริงๆแล้วมันค่อนข้างยากที่จะสร้างเสียงหนักๆ อย่างเช่น เสียงเบส ดังนั้นเสียงเบสของเพื่อนๆอาจจะหายไป หรือไม่ก็บูดจนเละเทะไปเลยก็ได้ ส่วนถ้าเป็นระดับสตูดิโอนั้น การใช้แอมป์ที่สามารถส่งกำลังเสียงเยอะๆเบิ่มๆเอาไปสู้กับค่า Impedance(ค่าความต้านทาน) ของลำโพง Woofer หรือหูฟังโปรดัคชั่นบางตัวที่เน้นความถูกต้องก็มักจะแลกมากับต่า Impedance ที่สูงตามก็ทำให้การใช้แอมป์กับอุปกรณ์สตูดิโอนั้นเป็นเรื่องจำเป็นขึ้นมาทันที


สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อนั่นคือ ไม่มีแอมป์ตัวไหนดีไปกว่าหูฟังได้ และไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดผลิตไฟฟ้าผิดปกติจนส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของหูฟังครับ เพราะเรามีมาตรฐานและข้อบังคับมากพอที่จะป้องกันปัญหาเหล่านั้นได้ สิ่งที่ต้องทำจริงๆไม่ใช่ซื้ออุปกรณ์ราคาแพงครับ แต่คือการมี Power ไว้จ่ายไฟให้เพียงพอต่อการใช้งาน และ พลังงานที่เพียงพอ และศึกษาเกี่ยวกับหูฟังที่เราใช้งานนั่นเอง กลับกัน หากเพื่อนๆมีสตูดิโอเป็นของตัวเอง การมีแอมป์สักตัวที่เอาไว้ขับเสียงให้กำลังกับอุปกรณ์ของเรา แอดว่าเพื่อนๆก็น่าจะมีติดเอาไว้สักตัวนะครับ



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo

Comments


bottom of page