top of page

Headphone Amps มีกี่ประเภท? แล้วใช้งานในโอกาสไหนดี?



Headphone Amps มีกี่ประเภท? แล้วใช้งานในโอกาสไหนดี?

เมื่อพูดถึง Chassis หรือโครงสร้างของมัน เราจะแบ่งแอมป์หูฟังได้ 3 ประเภทหลักๆ:


• Portable (แบบพกพา)

• Desktop (แบบตั้งโต๊ะ)

• Rackmount (แบบประกอบเข้าชั้นวาง)


แอมป์แบบพกพาหรือ portable นั้นจะมีลักษณะบางและขนาดพอดีกับกระเป๋าของคุณ มันจะรับเสียงจากสมาร์ทโฟน/เครื่องเล่น MP3 แล้วส่งพลังงานไปยังหูฟังของคุณผ่านแบตเตอรี่ หากใช้งานไปซักพักแล้วจะต้องมีการชาร์จเพื่อไม่ให้แบตเตอรี่หมด แอมป์แบบพกพาจะสามารถใช้ได้กับหูฟังครั้งละหนึ่งชุดเท่านั้น


Portable Chassis


ตามหลักแล้ว แอมป์หูฟังแบบตั้งโต๊ะจะใช้กับหูฟังได้ 1-2 ชุดแต่สามารถมีเอาต์พุตได้สูงสุดถึง 4 ชุด และสำหรับเสียบสตูดิโอมอนิเตอร์ได้ด้วย แอมป์แบบตั้งโต๊ะจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบพกพาและออกแบบมาให้วางบนโต๊ะให้มีปุ่มปรับระดับเสียงได้


Desktop Chassis


แอมป์หูฟังแบบสุดท้ายคือมีตัวยึดแร็คเพื่อติดตั้งเข้ากับแร็คขนาดกว้าง 19” พร้อมกับอุปกรณ์ประมวลผลสัญญาณสตูดิโออื่นๆ โดยปกติแล้วจะมีช่องเสียบหูฟัง 4-6 ช่องและสามารถต่อพ่วงกันได้ Chain เพื่อเพิ่มจำนวนเอาต์พุตเป็น 2-3 เท่า


Rackmount Chassis


แอมป์หูฟังแต่ละแบบล้วนเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่สองสิ่งที่ทั้งสามประเภทนั้นมีเหมือนกันนั่นก็คือการจ่ายไฟให้กับหูฟังนั่นเอง โดยแอมป์หูฟังนั้นจะช่วยให้จ่ายไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความแม่นยำของหูฟังมิกซ์เพลง 1 หรือหลายๆชุดในคราวเดียว


แอมป์แบบไหนเหมาะกับการ MIXING & ฟังแบบละเอียด


สำหรับมิกเซอร์ระดับมืออาชีพนั้นที่จำเป็นต้องได้ยินทุกรายละเอียดของเสียงไม่ว่าจะระดับใดก็ตามเพื่อให้แน่ใจว่าทุกองค์ประกอบของเพลงหรือแทร็กเสียงมีความสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเราจะใช้แอมป์หูฟังแค่ตัวเดียวก็พอแล้วครับ


แน่นอนครับว่าใครก็ต้องการให้ผลงานออกมาดีทั้งนั้นเพื่อไม่ให้แฟนเพลงผิดหวัง เหล่าคนทำเพลงมักจะใช้แอมป์หูฟังแบบตั้งโต๊ะ เพราะมันมีฟีเจอร์ที่สะดวกมากมายเลยทีเดียว แถมยังสามารถสลับระหว่าง Reference มอนิเตอร์และหูฟังได้ 1-2 ชุด อีกทั้งเปลี่ยนระดับเสียง ปิดเสียง ลดเป็นโมโน และอื่นๆ อีกมากมาย บางรุ่นมีรีโมตคอนโทรลอีกด้วย


แอมป์แบบไหนเหมาะกับการ RECORDING & TRACKING


สำหรับการบันทึกเสียง/แทร็กนั้นอาจต้องใช้หูฟังจำนวนมากในคราวเดียว เราอาจต้องบันทึกเสียงหลายๆคน ไหนจะผู้ช่วย และโปรดิวเซอร์อีก ดังนั้นเราจะใช้แอมป์หูฟังแบบ Rackmount ในการ record/track ครับ


เสียบหูฟังช่องไหน จ่ายไฟยังไง?


ในการอัดเสียงนั้น แอมป์ของเพื่อนๆไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพสูงครับ ขอแค่มันสามารถจ่ายไฟได้มหาศาลก็พอ เพราะคุณต้องพูดคุยกับสมาชิกในวงผ่านหูฟังจากระยะไกล และฟีเจอร์ที่สะดวกที่สุดนอกจากการ talkback คือฟีเจอร์ "More Me"


ฟีเจอร์นี้จะกำหนดเส้นทางเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีของสมาชิกแต่ละคนกลับเข้าไปในหูฟังของตนเอง และช่วยให้พวกเขาควบคุมระดับเสียงโดยไม่ขึ้นกับอินพุตของคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเวลาได้มากและไม่ต้องเสียเวลาปรับแต่งระดับเสียงของทุกคนเพื่อความสะดวกสบาย เพราะพวกเขาสามารถทำเองได้


สรุป!


แอมป์หูฟังจะแบ่งออกได้ 3 แบบด้วยกัน แอมป์หูฟังแบบพกพาสะดวกต่อการพกไปทุกที่ ไม่ว่าจะนำไปทำงานหรือใช้ในที่ทำงานฟังเพลินๆ ส่วนแอมป์ตั้งโต๊ะและแบบแร็คเมาท์มีไว้สำหรับมิกซ์ มาสเตอร์ และบันทึกเสียงในสตูดิโอ


แอมป์ดีๆนั้นมีตั้งแต่ $200 ถึง $2,000+ (ประมาณ7พันไปจนถึง7หมื่น) ขึ้นอยู่กับคุณภาพและจำนวนรูเสียบ และผมบอกก่อนเลยครับว่าแอมป์ $15000 (5แสนกว่าบาท) ที่เป็นแอมป์ตั้งโต๊ะที่ฉูดฉาดที่มี vacuum tube ยื่นออกมาเยอะๆนั้นเป็นอะไรที่เกินความจำเป็นไปมากครับ


เหตุผลที่เหล่ามืออาชีพต้องใช้แอมป์หูฟังโดยเฉพาะนั้นก็เพราะว่าพวกเขาต้องการแอมป์ที่สามารถจ่ายไฟได้เพียงพอกับหูฟังสตูดิโอที่มีค่าอิมพีแดนซ์สูงส่ง ดังนั้นถ้าใช้แอมป์หูฟังแล้ว รับรองว่าจะไม่เจอปัญหาเสียงผิดเพี้ยนหรือการตอบสนองความถี่ที่ผิดพลาดแน่นอนครับ


ตอนนี้เพื่อนๆก็ได้คำตอบกันแล้วใช่ไหมครับว่าแอมป์หูฟังคืออะไรและสำคัญยังไง เห็นไหมครับว่าอุปกรณ์นี้สำคัญกับการทำเพลงขนาดไหน ต่อให้ต้องทุ่มเงินก็ต้องยอมครับ เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีเลิศเพอร์เฟคนั่นเอง!!


หากใครยังลังเลในการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำเพลงเราก็มีสอนในคอร์สที่นอกเหนือจากเรื่องของการทำเพลงแล้วยังมีในส่วนของการเลือกใช้อุปกรณ์ กับคอร์สเรียน Cover เพื่อให้ได้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดครับ


สนใจสอบถามเข้ามาได้ที่ Inbox เพจเลยนะครับ



Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo #สอนทำเพลงออนไลน#แต่งเสียงร้อง #classabytongapollo

 
 
 

Comments


bottom of page