top of page

ปวดหัวสุด มิกซ์เพลงบนโมโนเขาทำกันยังไง?



ก่อนจะเริ่ม ผมอยากให้จำไว้ว่าเราจะใช้เวลาแค่ประมาณ 50% ไปกับระบบโมโนในขณะที่เราจะทำ Spot Check ในระบบเสตอรีโอ เราจะทำสลับกันไปมาแล้วใช้โมโนในการเช็คงานของเรา


เหตุที่ต้องทำแบบนั้นก็เพราะเมื่อเวลาที่เพื่อนๆเริ่มที่จะใส่ Reverb, Delay หรือ Effect เพิ่มเติมอื่นๆเข้าไป เพื่อนๆต้องคอยหมั่นตรวจสอบเรื่องของบาลานซ์ของย่านความถี่ใน EQ ด้วย รวมไปถึงการฟัง Phase Cancellation อีกครั้ง ที่ว่ามานั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยแต่อย่าลืมเช็คดูเพื่อความแน่ใจในตอนท้ายล่ะ



ก็เหมือนอย่างที่เคยๆทำกัน เริ่มจากการทำ Track เราให้คลีนก่อน จัดเรียงเรื่องของ Multitrack ต่างๆ ตามด้วยการทำสมดุลของระดับเสียง ถ้าเพื่อนๆอยากได้ตัวช่วย แอดก็ขอแนะนำในตัวของเทคนิค Pink Noise Mixing ซึ่งวิธีนี้ก็ถือเป็นตัวปฏิวัติวงการของระบบโมโนเลยก็ว่าได้


เมื่อระดับเสียงเราโอเคแล้ว ก็ให้เพิ่มการแพนเสียงเครื่องดนตรีในระดับต่างๆที่เพื่อนๆต้องการเปลี่ยนไปลงในระบบเสตอรีโอ เราอาจจะต้องเพิ่มระดับเสียงขึ้นสักนิดนึงเพื่อชดเชยที่เราอาจจะเสียไปถึง 3 dBs

ใน DAW บางตัวนั้นจะมีการปรับอะไรต่างๆให้อยู่แล้ว ยังไงก็ลองไปตรวจดูกันอีกรอบด้วยนะ


เพื่อนๆบางคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้แต่แอดแนะนำให้เราใช้ EQ ทั่วๆไปกับ Compression ลงไปตอนนี้เลย แต่มันก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนด้วยว่าวิธีการเป็นยังไง เพราะมันเอาไปทำหลังขั้นตอนที่ 3 ต่อไปนี้ได้ แต่ถ้าเพื่อนๆอยากจะทำก่อน ในตอนที่ปรับ EQ ในขั้นตอนที่ 3 นั้น ให้กลับไปใช้ปลั๊กอินตัวเดิมที่เคยใช้แทนที่จะไปปรับ EQ ตัวอื่นข้างบนตัวแรกๆ




ถึงเวลาที่เราจะได้เปลี่ยนจากเสตอรีโอเป็นโมโนกันแล้ว มันมีสองวิธีให้เลือกก็คือเปลี่ยน Summing Bus หรือไม่ก็ Master Output ใน Multitrack ที่มันน่าจะมีปุ่ม Chanel Mode ให้เราเลือกเปลี่ยนมิกซ์เราทั้งหมดให้เป็นโมโน แต่ถ้าไม่มี อีกวิธีก็คือการใช้ปลั๊กอิน





ในตอนนี้เพื่อนๆก็น่าจะกำลังฟังเสียงในโมโนกันเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงเวลาของการให้ความใส่ใจกับความใสของ Mix เรา อย่างที่เรารู้ๆกันดีว่าทุกๆชิ้นเครื่องดนตรีจะมีการแชร์ย่านความถี่กัน แต่มันจะมีอยู่ย่านเล็กๆแคบๆย่านนึงที่จะทำให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นจะเชิดฉายและใสเคลีย พอมาถึงตรงนี้แล้วนั้น เพื่อนๆก็ไม่ต้องไปบากบั่นแพนเสียงไปมาเพื่อหลบหนีจากความจริงอันโหดร้ายแล้ว เราแค่ต้องโฟกัสงานของเราจริงๆไปกับแค่ EQ ก็พอ แอดแนะนำให้ใช้ Parametric EQ(ตัวช่วยที่จะทำให้เราเจาะจงไปที่ย่านความถี่เสียงที่เราต้องการ อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบต่อย่านความถี่ใกล้ๆกัน) ในขั้นตอนนี้ เพื่อนๆต้องทำให้ดีที่ดีเท่าที่จะทำได้ ขั้นตอนนี้ถือเป็นประโยชน์ก้อนเบิ้มเลยที่การมิกซ์เสียงแบบโมโนจะมอบให้เรา ลองคิดภาพเล่นๆว่าหากเราต้องมาแพนแทรคไปๆมาๆ ขึ้นบนลงล่างซ้ายขวาๆเอบี ถ้าเราไม่เข้าใจในเรื่องนี้ บอกเลยว่าหูกับใจเรานั้นล่องลอยไปไกลแน่ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้นี่แหละที่จะมาช่วยให้เราโฟกัสไปทีละชิ้นเครื่องดนตรีได้




เพื่อนๆหลายคนตอนนี้ก็อยากที่จะฟัง Phase Issues กันแล้ว ถ้าเราอัดเสียงกีตาร์หรือเปียโนออกมาเป็นแบบเสตอรีโอ ตัวอย่างเช่นเราอาจจะมาเจอทีหลังว่าวิธีที่เราใช้ไมค์อัดเสียงออกมานั้นมันบ้ง เราก็แค่ใช้ตัว Phase Cancellation หรือไม่ก็ Boost ก็จบข่าว โชคดีที่วิธีนี้หมูมากๆ แต่จะแอดจะขออธิบายกันนิดหน่อย

ในบางย่านความถี่ในแทรคนั้นอาจจะมีเสียงที่ดังเบากว่าที่ควร ซึ่งมันอาจจะมาจบด้วยการที่เพื่อนๆต้องมานั่งไล่เรียงกรองหาปัญหาที่มีอยู่ได้ทั่วทุกย่านความถี่เสปรกตัมสำหรับเครื่องดนตรี

ถ้าเพื่อนๆไม่ได้ยินเสียงเหล่านี้ ก็สามารถใช้เจ้า Logic Pro Correlation Meter Plugin มาให้เราเห็นเป็นภาพได้ อย่างแรกเลยที่จำเป็นต้องรู้เวลาที่ปัญหานี้เกิดขึ้น สิ่งที่เราต้องการก็คือค่า +1 สำหรับแทรคส่วนใหญ่ แล้วก็ 0 สำหรับแทรคที่ถูกแพนกว้างที่สุด ส่วนแทรคไหนที่ต่ำกว่า 0 และเข้าใกล้ -1 นั้นมีความเสี่ยงที่จะถูก Phase Cancellation


ในกรณีนี้ มีสองวิธีที่แก้ได้ อย่างแรกเลยคือการกลับเฟสของช่องสัญญาณเสียงซ้ายขวา หรือไม่ก็ใช้ Delay กับทั้งสองช่องสัญญาณไปเลย ตัว Logic Pro’s Gain Plugin นั้นก็จะมีปุ่มนี้ให้เราได้เลย แถมเรายังเลือกฝั่งได้ด้วย ไม่ก็มันจะมีพวก Sample Delay Plugin มาให้ใช้

ไอเดียของวิธีนี้ก็คือการขยับ Waveform ของทั้งสองด้านถอยไปข้างหลังหน่อยให้เพียงพอต่อการหยุดการ Cancellation ไม่ให้เกิดขึ้น ถ้าเราถอยห่างไป เสียงก็จะกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้นเพราะงั้นเลยต้องระวังด้วยนะ ลองเริ่มจากแค่สลับ Phase ดูก่อน ซึ่งมันอาจจะช่วยประหยัดเวลาไปได้รวมถึงปัญหา Delay ต่างๆ




มาถึงตรงนี้ เพื่อนๆก็เริ่มที่จะหัวป่วนไปกับเอฟเฟค Time-based ต่างๆอย่างพวก Reverb หรืออะไรพวกนั้น วิธีก็แค่กลับ Mix เราให้เป็นเสตอรีโอเหมือนเดิม เสียงแทรคที่เราแพนไว้ก็ควรจะอยู่ที่เดิมก่อนที่เราจะเปลี่ยนไปใช้โมโน แต่มันจะมาพร้อมกับความสวยใสที่มากขึ้น


ถ้าเพื่อนๆยังไม่ได้ใส่ Compression เข้าไป ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่ดีที่จะใส่แล้วล่ะ หลังจากทำอะไรเสร็จก็ให้ลองกลับไปใช้โมโนลองฟังเสียงอีกครั้งเพื่อตรวจสอบงานเราว่ามันได้ทำให้สมดุลของระดับเสียงเรามันเพี้ยนไปมากน้อยแค่ไหน ในขั้นตอนนี้เพื่อนๆสามารถทำพวกปรับระดับเสียง, ใส่ EQ หรือปรับ




พวกขั้นตอนท้ายๆอย่าง Reverb, Delay, Flanger, Chorus หรืออะไรต่างๆนาๆเราก็หายห่วงกันไป แต่ต้องเอาให้มั่นใจว่าแต่ละอย่างที่ว่ามานั้นมันต้องมี Bus เป็นของตัวเองเพราะเพื่อนๆจะต้องสามารถ EQ แยกส่วนกันของใครของมันได้ แต่ทำไปทำไมล่ะ?

ก็เพราะว่าในตอนที่เพื่อนๆทำอะไรเสร็จหมดเรียบร้อย แล้วกลับไปเช็คความใสของเสียงในโมโนอีกครั้ง Effect ที่ว่ามานั้นเป็นตัวการชั้นเยี่ยมที่จะทำให้ Mix เราบูดได้ ดังนั้นเพื่อนๆจึงต้องสามารถที่จะ EQ ได้ เมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์แบบบในโมโน ก็ถึงเวลากลับมาเชยชมความสำเร็จในเสตอรีโอกันได้เลย ถ้าเพื่อนๆลองสังเกตุ จะพบว่าอาการหูล้าของเรานั้นมันน้อยลง ซึ่งก็นั่นก็คืออีกหนึ่งข้อดีของการมิกซ์ในรูปแบบโมโนนั่นเอง



จะเห็นว่าวิธีที่ว่านั้นทั้ง 6 ขั้นตอนก็ถือเป็นสิ่งที่เราทำกันปกติอยู่แล้ว จะต่างก็แค่การสลับมาทำบนระบบโมโน เทคนิคนี้จะเป็นตัวช่วยชั้นดีที่จะทำให้เพลงของเพื่อนๆออกมาดียิ่งขึ้น ขอให้เพื่อนๆสนุกกับเทคนิคนี้นะครับ

สำหรับใครที่สนใจคอร์สเรียน ใครที่อยากรู้ในส่วนของขั้นตอนการทำเพลง MIX & MASTERING สามารถสมัครคอร์สเรียนได้ พร้อมของแถมอีกมากมาย อย่ารอช้าครับ เรามีโปรโมชั่นดีๆมาก สอบถาม Inbox กันเข้ามาได้เลย !!




Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo


bottom of page